ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นฮีโร่หรือวีรบุรุษซึ่งข้าพเจ้าเป็นไม่ได้อย่างแน่นอนข้าพเจ้าเป็นเยาวชนคนหนึ่งในเหล่าเยาวชนในประเทศไทยและทั่วโลกจำนวนหลายหมื่นแสนล้านผู้ต้องการท้าทายและเปลี่ยนแปลงสังคมของเราให้ดีขึ้น ขอให้ทุกคนกล้าหาญและใช้เหตุผลวิจารณญาณข้าพเจ้าขอถือตนเป็นเพียงอิฐก้อนเล็กๆก้อนหนึ่งแห่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้าและขอให้ทุกคนมาร่วมกันเดินทางไปด้วยสติปัญญาบนความไม่ประมาท
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เนติวิทย์และพวก ถูกจับข้อหาใช้รถดัดแปลง ขณะเดินขบวนไปศธ.
วันนี้(25 ต.ค.) มีรายงานข่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดุสิตได้จับกลุ่มแนวร่วมนักเรียนนักศึกษาผลักดันปฏิรูปการศึกษาไทยประมาณ 30 คน นำโดยเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า โดยได้มีการแจ้งข้อหาใช้รถดัดแปลง ซึ่งทั้งหมดโดนปรับรวม 500 บาทและได้รับการปล่อยตัวแล้ว
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มแนวร่วมดังกล่าวเดินขบวนเพื่อไปกระทรวงศึกษาธิการเพื่อยื่นหนังสือการเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษาให้มีความเป็นธรรม รวมถึงจัดสว้สดิการการศึกษาในแบบรัฐสวัสดิการ และยกเลิกกฎระเบียบทางการศึกษาที่โบราณขัดหลักสิทธิเสรีภาพต่างๆ
ด้านนายปิยรัฐ จงเทพ หนึ่งในนักศึกษาที่ถูกจับเผยว่า ตำรวจมีความพยายามแจ้งข้อหาในความผิดตาม พ.ร.บ.ความมั่งคงด้วย แต่เมื่อพิจารณาจากข้อเรียกร้อของแนวร่วมฯ ไม่มีประเด็นทางการเมืองจึงยอมไม่เอาความ แต่ทางกลุ่มตนเตรียมแจ้งความกลับตำรวจในข้อหาใช้รถไม่ติดทะเบียน
ภาพจากเฟซบุ๊ก ‘Decharut Sukkumnoed
จงปล่อยให้เขาเป็นอิสระที่จะเลือกวิถีชีวิตของเขาเถิด
ท่านผู้ใหญ่ท่านก็อยู่บนโลก ใบนี้มานานพอแล้ว
และท่านก็มีเวลาเพียงเล็กน้ อยที่จะอยู่ต่อไป
พวกเด็กๆ พวกเยาวชนรุ่นหนุ่มสาว
เขามีเวลาข้างหน้าอันยาวนาน ที่จะต้องอยู่ในโลกนี้ต่อไป
เพราะฉะนั้นก็เป็นการชอบธรร มอย่างยิ่ง
ที่เขาควรจะมีความคิดเห็น ในการจัดแจง
ประชาคมและโลกให้เป็นที่ผาส ุข
ตามรสนิยมและทัศนะของเขา
ยิ่งกว่าบุคคลที่ใกล้จะอำลา โลกไปแล้วมิใช่หรือ
จงปล่อยให้เขาเป็นอิสระที่จ ะเลือกวิถีชีวิตของเขาเถิด
แต่ปล่อยหรือไม่ปล่อยก็เท่า กัน
เพราะเขาคงแสวงหามันจนได้.
--------------------------
กุหลาบ สายประดิษฐ์ "ศรีบูรพา"
จากบทความ "มองนักศึกษา ม.ธ.ก.ด้วยแว่นขาว"
วารสารธรรมจักร ของสโมสรนักศึกษา
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์แ ละการเมือง
ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2495
และท่านก็มีเวลาเพียงเล็กน้
พวกเด็กๆ พวกเยาวชนรุ่นหนุ่มสาว
เขามีเวลาข้างหน้าอันยาวนาน
เพราะฉะนั้นก็เป็นการชอบธรร
ที่เขาควรจะมีความคิดเห็น ในการจัดแจง
ประชาคมและโลกให้เป็นที่ผาส
ตามรสนิยมและทัศนะของเขา
ยิ่งกว่าบุคคลที่ใกล้จะอำลา
จงปล่อยให้เขาเป็นอิสระที่จ
แต่ปล่อยหรือไม่ปล่อยก็เท่า
เพราะเขาคงแสวงหามันจนได้.
--------------------------
กุหลาบ สายประดิษฐ์ "ศรีบูรพา"
จากบทความ "มองนักศึกษา ม.ธ.ก.ด้วยแว่นขาว"
วารสารธรรมจักร ของสโมสรนักศึกษา
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์แ
ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2495
"เนติวิทย์" ผู้แหย่รังแตน "ความเป็นไทย"
"เนติวิทย์" ผู้แหย่รังแตน "ความเป็นไทย"
เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติการศึกษาไทย ถูกสื่อบางหัว นำคำพูดบางตอนในรายการ The Daily Dose ไปสร้างกระแสความเกลียดชัง ล่าแม่มดจนดังกระฉ่อนทั่วอินเทอร์เน็ตมาตลอดทั้งสัปดาห์ ล่าสุด "น้องแฟร้งค์" ตอบกลับด้วยบทความ "ความเป็นไทยตั้งแต่หัวจรดตีน – ผ่านระบบการศึกษาไทย" ซ้ำอีกดอก จนเกิดอาการดิ้นกันอีกรอบ!
นาย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล หรือน้องแฟร้งค์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาซึ่งเป็นเลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย โพสต์แชร์ เฟซบุ๊กเป็นบทความเรื่อง "ความเป็นไทยตั้งแต่หัวจรดตีน – ผ่านระบบการศึกษาไทย" เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา (โพสต์เดิมตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ) เพื่อตอกย้ำแนวคิดที่ได้เคยแชร์กับ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการ The Daily Dose ทางวอยซ์ทีวี เรื่องปัญหาในระบบการศึกษาไทยมาแล้ว โดยบทความนี้ตั้งคำถามกับสังคมว่า "ความเป็นไทยคืออะไร"
"ในสุดท้ายแม้เราจะไม่รู้หรอกว่าความเป็นไทยคืออะไร ถามครู ถามนักเรียน ถามใครๆหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ แต่เราก็ยังยินดีอุทิศตัวให้กับนามธรรมแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองเห็นว่าเป็นของดี เพราะถ้าคุณถาม อำนาจของพวกเขาก็สั่นคลอน ความเป็นไทยที่ครอบงำสมอง ทรงผม เครื่องแบบ จากหัวจรดตีน ก็จะพินาศไป ผมอยากให้เราไปพ้นความเป็นไทย ที่มี ย ซึ่งความเป็นไทยแบบนี้คือความเป็นทาสที่ไม่ต้องล่ามโซ่พันธนาการก็ยินดีกับความเป็นทาส ฉีกกรอบไปหาความเป็นไท ที่อิสรเสรี แล้วคิดว่านักเรียนเวลานี้ก็ตื่นตัวกันมากแล้วที่จะเป็นไท " - เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (ที่มา เฟซบุ๊ก : Netiwit Ntw )
คลิกอ่านบทความ : "ความเป็นไทยตั้งแต่หัวจรดตีน – ผ่านระบบการศึกษาไทย" ฉบับเต็มที่นี่ http://on.fb.me/19OEWUB
ในบทความนี้ เนติวิทย์ "วิเคราะห์" ต้นตอของ "ความเป็นไทย" ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน โดยเฉพาะจากหลักสูตรการศึกษาวิชาสังคมศึกษา หมวดประวัติศาสตร์ที่สั่งสมให้เกิดความเชื่อในอดีตของประเทศไทยในด้านที่ถูกบอกให้เชื่อเท่านั้น และยังได้กล่าวอย่างสิ้นหวังอีกว่าการศึกษาอดีตความเป็นไทยในการศึกษาในระบบโรงเรียนปัจจุบันเป็นเรื่องจอมปลอม ไม่ได้เอื้อให้คนที่อยากศึกษาอย่างลึกซึ้งสามารถพึ่งพาตำราเรียน "ในโรงเรียน" ได้เลย
แน่นอนว่าคิดแบบนี้ พูดแบบนี้ เป็นเรื่องที่กระทบจิตใจของคนที่เชื่อที่ถูกบอกให้เชื่อมาโดยตลอด กระแสตีกลับเรื่องนี้ในหมู่คนไม่เห็นด้วยจึงแรงมาก
อ.เกษียร เตชะพีระ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์คอมเมนต์กระแส'เน็ตของกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เกี่ยวกับ น้องแฟร้งค์ เป็นบทความสั้นๆ เรื่อง ทำไมจึงเดือดร้อนดิ้นรนพราด ๆ ๆ กันนักเมื่อมีใครคิดยกเลิก "ความเป็นไทย"?
"คุณไปเขย่าหรือยกเลิก "ความเป็นไทย" ก็เท่ากับคุณไปเขย่าหรือยกเลิกตัวตนทางวัฒนธรรมหรือคำนิยามตัวเองทางวัฒนธรรมของพวกเขานั่นเอง คนชั้นกลางไทยทั้งหลายย่อม "ยัวะ" และ "สั่นเป็นเจ้าเข้า" เป็นธรรมดา"
คลิกอ่านบทความ : ทำไมจึงเดือดร้อนดิ้นรนพราด ๆ ๆ กันนักเมื่อมีใครคิดยกเลิก "ความเป็นไทย"? ที่นี่ : http://on.fb.me/1b4NF36
การแสดงออกนอกความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมาจากโรงเรียนของเนติวิทย์ ยังได้กลายเป็นเหยื่ออันโอชะของ "นักเลง(เกรียน)คีย์บอร์ด" ในคราบสื่อมวลชน ที่โหมสร้างกระแสให้เกิดความเกลียดชังกับ "นักเรียนคิดเป็น" แบบไม่เป็นธรรม มิพักพูดถึง แฟนเพจแก็งค์อันธพาลบนเฟซบุ๊ก ที่นำ "เยาวชน" ไปละเลงสี ป้ายความเลวให้เสร็จสรรพจนก่อให้เกิดเมฆทะมึนแห่งความเกลียดชังบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทั้งนักเรียนด้วยกัน ไปจนถึง "ผู้ใหญ่ ผมดำ ผมหงอก" จนบางความเห็นมัน "เกินเลย" ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยกัน
ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์การเมืองบนเว็บไซต์ประชาไท และวอยซ์ทีวี ก็แชร์ข่าวที่สื่อเจ้าหนึ่งยังเกาะติดกระแส "เนติวิทย์ฟีเวอร์" ไม่เลิกบนเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/baitongpost
เนติวิทย์บอกว่า "ทำไมจองเวรจุงเบย"
โห ก็จะไปทุบกะลาที่ครอบโลกของคนพวกนี้ไว้
โห ก็จะไปทุบกะลาที่ครอบโลกของคนพวกนี้ไว้
สำหรับผู้เขียนและเรียบเรียงประเด็นเรื่องนี้ ข้อหาที่บอกว่า " เนติวิทย์" ไม่มีสัมมาคารวะ หยาบกระด้าง ไม่น่ารัก ได้คืบจะเอาศอก ไม่มีความเป็นไทย ที่ "สื่อเจ้าหนึ่งและอันธพาลบนเฟซบุ๊ก" พยายามให้คนคล้อยตามไปแบบนั้น ผมว่ามัน "ฟังไม่ขึ้น" ด้วยประการทั้งปวง ในเมื่อคนที่คิดต่างจากเขาและบอกว่ารู้ซึ้งเรื่องความเป็นไทยเป็นอย่างยิ่ง พากันประเคน ฟักแฟงแตงโม แจกกล้วย แจกของชำร่วย สัตว์นานาชนิดและ สารพัดวาจาที่อุดมไปด้วยความคิดหมกมุ่นในเรื่องต่ำทรามในจิตใจ ผ่านการกระแทกแป้นคีย์บอร์ดคอมเมนต์ในเว็บไซต์ และ เฟซบุ๊กของอันธพาลในคราบสื่อกลุ่มนี้ ตามที่สื่อดังกล่าวตั้งตัวเป็นศาลเตี้ยตัดสินเนติวิทย์ไปเรียบร้อย..ผมว่าน้องเขามารยาทดีกว่าคนพวกนั้นเยอะเลย
อย่างไรก็ตาม การถกเถียงอย่างสร้างสรรค์แบบมีเหตุผลก็เป็นเรื่องจำเป็นและสวยงามในระบอบประชาธิปไตย และไม่ใช่ทุกคนต้องเห็นด้วยกับ เนติวิทย์ หรือ เพื่อนๆในกลุ่มสมาพันธ์ฯ เพราะแม้แต่ "คุณปลื้ม" ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการ The Daily Dose ต้นเรื่องของการพูดคุยกับนักเรียนเรื่องปัญหาการศึกษาเอง ก็ไม่ได้เห็นด้วยกับสิ่งที่น้องแฟร้งค์พูดทุกอย่าง และเปรียบเทียบว่าเป็นความคิดแบบเดียวกันกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งต้องระวังไม่ให้ความคิดเรื่องการทลายขนบ มาปะปนกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพราะมันคนละเรื่องกัน
"มันเป็นเรื่องเดียวกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้กระแสนี้จะถูกปลุกขึ้นมา แต่ผมคิดว่ามันไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ เพราะว่าการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ เพื่อรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มันไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่มีอยู่ พลิก กลับตาลปัตร..ให้เป็นตรงกันข้าม ผมไม่เห็นว่าสังคมไทยต้องเปลี่ยนขนาดนั้น" - ม.ล. ณัฎฐกรณ์ เทวกุล จากรายการ The Daily Dose
คลิกชมรายการ The Daily Dose ประจำวันที่ 2 กรกฎาคม ที่นี่
“เนติวิทย์ “ขยี้ระบบการศึกษา “วันไหว้ครู
“เนติวิทย์ “ขยี้ระบบการศึกษา “วันไหว้ครู”หมอบคลานเข้าไปเหมือนสิงสาราสัตว์ ต้องยกเลิกความเป็น”ไทย”
ผู้เขียน: พ่อเลี้ยงคำสิงค์
1 ก.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย และบรรณาธิการ นิตยสารปาจารย์สาร ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว ที่ใช้ชื่อว่า Netiwit Ntw โดยโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา แสดงความเห็นภายใต้เรื่องว่า ความเป็นไทยตั้งแต่หัวจรดตีน – ผ่านระบบการศึกษาไทย โดยเขียนถึงระบบการศึกษา เนื้อหาสาระ และเรื่องการเรียนการสอน
นายเนติวิทย์ โพสต์ตอนหนึ่งว่า ระบบโซตัส เป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับประเทศแห่งนี้ ความคิดการจัดวางลำดับชั้นต่ำสูง ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ ครู – นักเรียน แบบพ้นยุคพ้นสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ นักเรียนก็ไม่เท่าเทียมกับครู ปัญหาการโต้เถียงถกเถียงครูอาจารย์ในสังคมไทยบางทีก็เป็นเรื่องรับไม่ได้ นักเรียนคิดแย้งก็มีน้อยและส่วนมากไม่กล้า เพราะสภาพที่กดดันและอำนาจนิยม
แม้ครูกับครูเองก็มีปัญหา คือผู้บริหารคิดว่าตัวเองวิเศษ สูงส่งกว่าครูธรรมดา ครูก็มีหน้าที่รับฟัง เชื่อฟัง ขัดแย้งไม่ได้ แม้มีคนขัดแย้งก็หาพวกรวมกลุ่มกันได้ยาก เพราะครูเองก็เคยเป็นนักเรียนถูกหลอมผ่านระบบการศึกษาที่เห็นระบบอาวุโส เป็นของดี วันไหว้ครูก็ต้องหมอบคลานเข้าไปเหมือนสิงสาราสัตว์ แล้วก็อ้างว่า เป็นของไทย น้ำตาจะไหลเพราะซึ้งจัด
ในเรื่องของเนื้อหาสาระนั้น เน้นไปเฉพาะวิชาสังคมศึกษา หมวดประวัติศาสตร์ เราแคบมาก เน้นการท่องจำจนเกินไป แบบไม่มีความสุข ไม่ให้ศึกษาวิเคราะห์ ซ้ำร้ายที่สุดคือชุดความคิดที่พวกเขาสร้างประดิษฐ์กรรมขึ้นมา ซึ่งซึมเข้าสู่สังคมจนสังคมเป็นแบบที่เราเห็น ไม่มีการเรียนการสอน การศึกษาอดีตของเราจึงเป็นของปลอม ไม่ให้คนมีความลึกซึ้ง คนที่อยากจะเรียนรู้จึงหวังพึ่งตำราเรียนไม่ได้
นักเรียนส่วนมากถูกปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ปลุกฝังเรื่องของการเสียดินแดน 14 ครั้ง ทั้งที่ดินแดนเหล่านั้นไม่ใช่ของไทยจริงๆ อาการเหยียดเพื่อนบ้านก็ย่อมมี แสดงว่าเราจะเข้าประชาคมอาเซียนแบบดูถูกเพื่อนบ้าน ไม่เป็นเรื่องที่ฉลาดเลย พวก 14 ตุลา หรือ 6 ตุลาคม เราได้บทเรียนอะไรไม่มี ประวัติศาสตร์ของเราที่สอนๆกัน เน้นไปเมื่อ 100 – 700 ปีที่แล้ว ดังนั้นคนในประเทศเราไม่แปลกที่มีความคิดแบบ หนึ่งร้อยปีก่อน ก็ไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักนายปรีดี พนมยงค์ นายป๋วย อึ้งภากรณ์
นายเนติวิทย์ โพสต์ในเรื่องการสอนว่า มี 2 แบบ คือ 1.สอนให้โง่ กับ 2.สอนให้ฉลาด เวลานี้ดูเหมือนสอนให้โง่ ถ้าสอนให้ฉลาดต้องสอนให้มีการตั้งคำถาม ตรวจสอบกับอดีตซึ่งมีผลกับปัจจุบันทั้งนั้น เหตุใด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ไม่มี การสอนแบบนี้คือสอนให้โง่
“สุดท้ายแม้เราจะไม่รู้หรอกว่าความเป็นไทยคืออะไร ถามครู ถามนักเรียน ถามใครๆ หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ แต่เราก็ยังยินดีอุทิศตัวให้กับนามธรรมแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองเห็นว่าเป็นของดี เพราะถ้าคุณถาม อำนาจของพวกเขาก็สั่นคลอน ความเป็นไทยที่ครอบงำสมอง ทรงผม เครื่องแบบ จากหัวจรดตีน ก็จะพินาศไป ผมอยากให้เราไปพ้นความเป็นไทย ซึ่งความเป็นไทยแบบนี้คือความเป็นทาสที่ไม่ต้องล่ามโซ่พันธนาการก็ยินดีกับ ความเป็นทาส ฉีกกรอบไปหาความเป็นไท ที่อิสรเสรี แล้วคิดว่านักเรียนเวลานี้ก็ตื่นตัวกันมากแล้วที่จะเป็นไท”
ข้อความที่นายเนติวิทย์โพสต์ลงเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/pages/Netiwit-Ntw/144948172233316
..ไหว้ครูก็ต้องหมอบคลานเข้าไปเหมือนสิงสาราสัตว์ ..ไอ้เด็กคนนี้คงไม่เคยหมอบคานไหว้พ่อแม่ คงยืนค้ำหัว เห็นว่าหมอบคลานเป็นสิงสาราสัตว์ เนรคุณ อกตัญญู และสุดท้าย ทรพี..ชาติไม่ต้องการเด็กแบบนี้หรอก..และคงได้เกิดเป็นสิงสาราลัตว์แน่นอน..และชาตินี้คงไม่มีที่เรียนในประเทศไทย ..เนติวิทย์ น่าจะยื่นหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ขอลาออกจากการเป็นคนไทย แล้วรีบเก็บเสื้อผ้า ไปอยู่บ้านเก่าซัวเถา หรือ ที่ชอบ ที่ชอบ เลยมึง......
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล: จากทรงนักเรียน ถึงข้อเสนอยกเลิกความเป็นไทย
สนทนากับ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย และบรรณาธิการนิตยสารปาจารยสาร
หลังจากก่อนหน้านี้ "สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย" ได้รณรงค์ให้มีการยกเลิกทรงนักเรียน และต่อมากระทรวงศึกษาธิการยอมปรนด้วยการออกระเบียบกฎกระทรวงฉบับใหม่ และมีหนังสือสั่งการถึงหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานศึกษาในสังกัดให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรง และนักเรียนหญิงไว้ผมยาวได้ ทันทีที่เปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2556 แต่ล่าสุด เนติวิทย์บอกว่า ได้รับการร้องเรียนว่ายังพบโรงเรียนหลายร้อยแห่งที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม (ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม เขากล่าวด้วยว่าทางสมาพันธ์นักเรียนไทยฯ จะเรียกร้องให้มีการยกเลิกทรงนักเรียนต่อไป รวมถึงข้อเสนอให้เรื่องการยกเลิกความเป็นไทยด้วย
"เรื่องทรงผมไม่ใช่ว่าได้รองทรงแล้วจะจบ เราจะเรียกร้องไปถึงที่สุดเลยครับ คือจำเป็นเลยที่จะต้องยกเลิกกฎระเบียบเรื่องทรงผม เพราะว่าผมเชื่อเลยครับถ้าสมัยก่อนเขาให้รองทรง นักเรียนก็ต้องต่อสู้อยู่ดี ก็ต้องเรียกร้องสิ่งที่มากกว่า ไม่มีใครหรอกครับที่จะต้องการโดนจำกัดเสรีภาพ และเสรีภาพที่ทางกระทรวง (ศึกษาธิการ) ให้ เป็นเสรีภาพจอมปลอมเท่านั้นเอง ทำให้เราหลงเชื่อว่าเรามีอิสรภาพ มีเสรีภาพแล้ว เสรีภาพที่แท้จริง ต้องไม่ควบคุมกันครับ นี่เป็นสิ่งที่เราเรียกร้องไปให้ถึงที่สุด"
"และเราจะเรียกร้องเกี่ยวกับ อาจจะเรื่องความเป็นไทยด้วย เพราะเรารู้สึกแย่กับความเป็นไทยเต็มที่แล้ว เพราะเวลาสู้เรื่องทรงผม ครูบาอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษาชอบอ้างเรื่องความเป็นไทย ดังนั้นทางสมาพันธ์ฯ ซึ่งเป็นนักเรียน เป็นเยาวชน ต้องการปลุกมโนธรรมของนักเรียน และครู อาจารย์ให้รู้ว่าความเป็นไทยมันไม่มีอยู่จริง นอกจากอุปโลกน์ขึ้นมา เราจะต่อสู้เรื่องวาทกรรมพวกนี้ด้วย และจะต่อสู้เรื่องโรงเรียนเล็กๆ โรงเรียนน้อยๆ ต่างๆ รวมถึงจะเอาเรื่องการศึกษาทางเลือกมาพิจารณา แล้วก็คุยเรื่องประเด็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการว่าจะเป็นอย่างไร" เนติวิทย์ ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กล่าวตอนหนึ่งในการให้สัมภาษณ์
นอกจากนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ทางสมาพันธ์นักเรียนไทยฯ จะจัดเสวนาเปิดครั้งที่ 1 "ทิศทางนักเรียนไทยในอนาคต" ด้วย ที่ TK Park ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเขากล่าวว่าจะเป็นการเปิดตัวกลุ่มครั้งแรก จะมีการพูดเรื่องทรงผม เครื่องแบบนักเรียน รวมถึงทิศทางของนักเรียนไทยในอนาคต โดยจะเป็นการคุยกันให้แตกฉาน นอกจากนี้ทางกลุ่มก็จะเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนกลุ่มนักเรียนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในโรงเรียนแห่งต่างๆ ด้วย
ในวันที่พูดคุยกับเนติวิทย์ คือวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 โดยและวันดังกล่าวเขาได้หยุดเรียน เพื่อมาฟังปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยเขาบอกว่า ได้หยุดโรงเรียนเองเช่นนี้เพื่อร่วมกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว
โดยเขาเล่าให้ฟังด้วยว่า ในปีนี้เป็นโอกาสที่ดี ที่เขาสามารถจัดงาน "สัปดาห์รำลึกอภิวัฒน์สยาม 2475" ขึ้นภายในโรงเรียนที่เขาอธิบายว่า "มีสภาพที่อนุรักษ์นิยมอย่างเต็มที่" อย่างไรก็ตามในหมู่เพื่อนนักเรียนยังไม่ตระหนัก เพราะการเรียนที่มุ่งไปเพื่อสอบนั้น นักเรียนส่วนมากต้องสอบอย่างเดียว ยิ่งอยู่ชั้น ม.5 จึงขึ้น ม.6 แล้ว ตอนนี้ยิ่งต้องเตรียม ว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยอะไรดี จะตามฝันอย่างไรดี เขาไม่มีเวลามาสนใจเรื่องแบบนี้
เขากล่าวด้วว่าเห็นด้วยกับประกาศของคณะราษฎรอย่างเต็มที่ "โดยส่วนของหลัก 6 ประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสมอภาค เสรีภาพ เรื่องเอกราช ความปลอดภัย การศึกษา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในสังคมไทย ตอนนี้สิ่งเหล่านี้ไม่มีอย่างเต็มที่ เรื่องการศึกษาก็ดี ราษฎรก็ไม่ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันทุกคน และการศึกษาก็ห่วยแตก การศึกษาซึ่งคณะราษฎรต้องการปลูกฝังให้เราเป็นพลเมือง แต่ตอนนี้เราไม่ได้เป็นพลเมือง ตอนนี้เราอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่สามารถคิดได้อย่างอิสระ"
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
"เนติวิทย์" ชี้หมอบ คลาน ถวายบังคมเป็นซากเดนวัฒนธรรม ลั่นเซ่นไหว้รูปร.5 ไร้สาระ!!!
"เนติวิทย์" โจมตีวัฒนธรรมการหมอบ คลาน ถวายบังคม ว่าเป็นซากเดนวัฒนธรรม เหมือนสัตว์เลื้อยคลาน พร้อมบอกอีกว่าการเซ่นไหว้รูป ร.5 ท่านเป็นเทวดาคงไม่มาเกลือกกลั้วกับของเซ่นที่ไม่มีรสนิยมเช่นนี้
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้มีการยกประเด็นต่างๆ ในสังคมไทยขึ้นมาวิจารณ์ซึ่งเป็นแนวขวางโลกพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พุทธศาสนาในเรื่องเรียนเป็นเรื่องไร้สาระ การตัดผมเกรียนของนักเรียน การยกเลิกการเข้าแถวเคารพธงชาติ และอื่นๆอีกมาก วันนี้ ( 14 ส.ค. ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเฟชบุค Netiwit Ntw ได้มีการโพสต์ข้อความโจมตีวัฒนธรรมไทยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้ได้กล่าวถึงพีธีหมอบคลาน ถวายบังคม พึ่งพาอำนาจสิ่งศักดิ์ ชี้เป็นเรื่องไร้สาระ เป็นซากเดนวัฒนธรรม เหมือนสัตว์เลื้อยคลาน และยังกล่าวถึงเรื่องการเซ่นไหว้รูปพร้อมเครื่องเซ่น เสด็จพ่อร.5 ว่า ท่านเป็นเทว พระพุทธเจ้าหลวง แล้วจะมาเกลือกกลั้วกับของเซ่นที่ไม่มีรัสยมได้อย่างไร
ผมเคยผ่านไปสถานศึกษาบางแห่งซึ่งบอกว่าตนเป็นโรงเรียนชั้นสูงจริงๆ ก็ดัดจริตทั้งนั้นแหละเห็นมีพิธีหมอบคลาน ถวายบังคม ซึ่งในมหาวิทยาลัยก็มีอยู่หลายแห่ง ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระมาก ที่พวกเราเรียนหนังสือมาตั้งมากมาย แต่ไม่สามารถที่จะยืนตัวตรงได้ไม่เป็นตัวของตนเองได้ และพึ่งพาอำนาจศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือตัวเรา
ซึ่งเป็นอิฐเป็นปูนไม่มีแก่นสาร และพิธีกรรมเหล่านี้ ในหลวงรัชกาลที่5 ก็ให้ยกเลิกไปหมดแล้ว แต่ก็นั่นแหละ ซากเดนวัฒนธรรมเหมือน สัตว์เลื้อยคลานก็หาจะสิ้นสุดไปไม่ ภายหลังก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา และโรงเรียนที่ผมรู้จักดีมานานผมก็สงสัยว่าทำไมต้องมีการไหว้รูปเคารพ พร้อมเครื่องเซ่นเสด็จพ่อร.5 ถ้าท่านเป็นเทวดาหรือเป็นตั้งพระพุทธเจ้าหลวงแล้วจะมาเกลือกกลั้วกับของเซ่นที่ไม่มีรสนิยมเช่นนี้ได้อย่างไรสวรรค์ก็อิ่มทิพย์มิใช่ดอกหรือ นี่แสดงว่าคนเซ่นไหว้สิ้นเปล่าไปหรือไม่
ซึ่งเป็นอิฐเป็นปูนไม่มีแก่นสาร และพิธีกรรมเหล่านี้ ในหลวงรัชกาลที่5 ก็ให้ยกเลิกไปหมดแล้ว แต่ก็นั่นแหละ ซากเดนวัฒนธรรมเหมือน สัตว์เลื้อยคลานก็หาจะสิ้นสุดไปไม่ ภายหลังก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา และโรงเรียนที่ผมรู้จักดีมานานผมก็สงสัยว่าทำไมต้องมีการไหว้รูปเคารพ พร้อมเครื่องเซ่นเสด็จพ่อร.5 ถ้าท่านเป็นเทวดาหรือเป็นตั้งพระพุทธเจ้าหลวงแล้วจะมาเกลือกกลั้วกับของเซ่นที่ไม่มีรสนิยมเช่นนี้ได้อย่างไรสวรรค์ก็อิ่มทิพย์มิใช่ดอกหรือ นี่แสดงว่าคนเซ่นไหว้สิ้นเปล่าไปหรือไม่
กระทรวงศึกษาของเราเองก็ยังอุทิศหน้าในเว็บไซต์ให้กับความงมงาย แล้วเราจะหาการวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างไรนักเรียน ครู ซึ่งยังมีความชอบธรรมพอในการวิจารณ์โรงเรียนได้อย่างเต็มปาก ควรที่จะต้องออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ กับความล้าหลัง รักแบบสร้างภาพแบบตามมาๆอย่างไร้เหตุผล และบางทีก็บังคับให้เรายอมรับและจมปลักกับมันจมแทบโงหัวไม่ขึ้น
วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล โพสต์อีก ! จวกการศึกษาไทย อัปรีย์ไป จัญไรมา
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Netiwit Ntw
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล แชร์บทความวิจารณ์ระบบการศึกษาไทยผ่านเฟซบุ๊กอีกครั้ง ซัด ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยการศึกษาไทยก็ยังเหมือนเดิม แบบ อัปรีย์ไป จัญไรมา เชื่อ ระบบการศึกษาไทยไม่ดีขึ้นแน่ หากนักการเมืองไร้วิสัยทัศน์ ไม่เข้าใจความทุกข์ของครู-นักเรียน
หลังจาก นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ถูกชาวเน็ตวิจารณ์อย่างหนัก เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา จากกรณีออกมาโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์ระบบการศึกษาของไทยว่า เน้นปลูกฝังความเป็นไทยผ่านเนื้อหาบทเรียนที่ล้าหลัง ทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อที่ผิด ๆ โดยอาศัยชื่อความเป็นไทยมาทำให้นักเรียนยกย่องเทิดทูน ยกระบบโซตัสให้สูง จนผู้น้อยไม่สามารถขัดแย้งใด ๆ ได้เลยนั้น
ล่าสุด ในวันนี้ (10 กรกฎาคม 2556) นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้นำบทความเรื่อง "อภิวัฒน์ระบบการศึกษา เพื่อพ้นจากการศึกษา แบบ "อัปรีย์ไป จัญไรมา” (๑)" ที่นายเนติวิทย์เคยเขียนไว้ใน เฟซบุ๊ก Netiwit Ntw ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 กลับมาแชร์ให้ผู้สนใจได้อ่านกันอีกครั้ง เพื่อตอกย้ำความคิดดังกล่าว
ทั้งนี้ ในบทความเรื่องนี้ นายเนติวิทย์ ได้ยกบทความเรื่อง "Education in Thai: A Terrible Failure" หรือ "การศึกษาไทย : ความล้มเหลวอย่างน่าบัดซบ" ที่เขียนขึ้นโดย Cassandra James อาจารย์ชาวต่างชาติคนหนึ่งที่เคยสอนในประเทศไทยมาให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยอาจารย์คนนี้วิเคราะห์ระบบการศึกษาไทยไว้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีความเลวร้ายอย่างมาก ทั้งครูไร้ประสิทธิภาพ ได้รับค่าจ้างอยู่ในขั้นต่ำ นักเรียนไม่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ระบบราชการไทยเป็นแบบเจ้าขุนมูลนาย รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาไทยบริหารจัดการไม่เป็น และยังบอกด้วยว่า ระบบการศึกษาไทยเป็นระบบการศึกษาที่แย่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากยกบทความดังกล่าวขึ้นมาแล้ว นายเนติวิทย์ ก็ได้แสดงความเห็นเสริมเข้าไปว่า สิ่งที่ครูต่างชาติคนนี้เขียนแสดงให้เห็นว่าการศึกษาไทยไม่ว่าจะกี่ยุค กี่สมัย ก็ยังเหมือนเดิม อาจใช้คำว่า "อัปรีย์ไป จัญไรมา" ก็ยังได้ พร้อมตั้งคำถามด้วยว่า ครูไทยได้สอนการคิดเชิงวิพากษ์ให้แก่เด็กไหม และได้สอนเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการใช้หัวสมองคิดคำนวณ โดยไม่โยงไปหาหัวใจเลยหรือไม่ จึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันทบทวนระบบการศึกษาด้วย
สำหรับข้อความทั้งหมดนั้น มีดังนี้
อภิวัฒน์ระบบการศึกษา เพื่อพ้นจากการศึกษา แบบ "อัปรีย์ไป จัญไรมา" (๑)
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
ขออุทิศบทความนี้แด่ ... อาร์ เนส (Arne Naess) – บิดาแห่งนิเวศวิทยาแนวลึก เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปีชาตกาล
คำว่า "การศึกษา" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้คำจำกัดความว่า"เล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม" เป็นไปได้ทั้ง ๓ ความ คือ เล่าเรียน ๑ ฝึกฝน ๑ และอบรม ๑ พจนานุกรมฉบับนี้ขยายความว่า "เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความชำนาญ สามารถประกอบการงานอันเป็นอาชีพของตนได้ มีอนามัยร่างกายสมบูรณ์ มีจรรยาความประพฤติดี อันจะมีคุณประโยชน์แก่ตน ครอบครัว และส่วนรวม ในทางดำเนินวิถีชีวิต และทำให้เกิดสติปัญญา ความสามารถของตนที่เร้นอยู่ คลี่คลายเป็นความเจริญ ส่งผลให้เกิดความสุขสบายใจ" อันความหมายนี้ ดัดความมาจาก Education ของพจนานุกรมฝรั่งอีกที ในหนังสือ "ศึกษิต" ของ น.ม.ส. (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ก็ให้คำจำกัดไปในทางนี้ก็คือ "ความงอกงาม"
๑. แล้วเวลานี้ การศึกษาไทย เป็นไปเพื่อความงอกงามแล้วละหรือ? เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และส่วนรวมจริงละหรือ? เป็นไปเพื่อนำสิ่งที่ "เร้นอยู่" หรือศักยภาพภายในของผู้เรียนออกมาได้ละหรือ? ดูคำนิยามคำว่า "การศึกษา" จากพจนานุกรมฉบับดังกล่าว เห็นจะไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มันอยู่ตรงข้ามกับความเป็นจริง คนจำนวนไม่น้อยคงจะคิดว่าคำนิยามนั้นเป็นคำลวงโลก หรือเป็นอุดมคติที่เกินจะอาจเอื้อม คงไม่ต้องขยายความ อาจจะบอกกล่าวก็ได้เลยว่าการศึกษาไทยเวลานี้ อัปลักษณ์แค่ไหน อย่างไร
ทั้งนี้ ข้าพเจ้าจะไม่เขียนเอง หากจะอ้างบทความ Education in Thai: A Terrible Failure (ข้าพเจ้าแปลชื่อหัวข้อว่า การศึกษาไทย: ความล้มเหลวอย่างน่าบัดซบ) บทความนี้เขียนโดยครูฝรั่งที่เคยสอนในประเทศไทย ซึ่งบัดนี้ย้ายไปสอนประเทศอื่นแล้ว นาม Cassandra James เธอเขียนไว้อย่างน่าสนใจ โดยที่วิจารณ์ความห่วยแตก บัดซบ ของระบบการศึกษาไทย สรุปได้ว่า เธอผู้นี้มาสอนอยู่ที่นี่ได้ไม่เท่าไร ก็รับรู้ถึงความทุเรศ ความเลวร้ายของระบบการศึกษาไทย – นักเรียนกว่า ๕๐ คน, ครูไร้ประสิทธิภาพในการสอน, เงินเดือนจ่ายต่ำ, เด็กนักเรียนไม่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์, อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ขาดแคลน, ดีแต่สร้างภาพ, ระบบราชการไทยเป็นแบบเจ้าขุนมูลนาย เหมือนตัวตลกหนึ่งเดียวของโลก ไม่เท่านั้น รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาไทยก็บริหารจัดการไม่เป็น แถมไม่ค่อยมีสติปัญญาเท่าไร ฯลฯ เธอสรุปไว้อย่างสั้น ๆ บรรทัดเดียวแต่เริ่มหัวข้อแล้วว่า ระบบการศึกษาไทยเป็นระบบการศึกษาที่แย่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมันเลวมากขึ้นทุกปี"
๒. หลังจากบทความนี้ซึ่งอันที่จริงเป็นบทความที่เขียนมายาวนานนับปีแล้วได้เผยแพร่ออกมา ก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ส่งต่อกันมากมาย หลายร้อย หลายพันครั้ง คงไม่มีใครปฏิเสธสิ่งที่เธอพูดว่าไม่จริง สิ่งที่เธอเขียนมันสะท้อนถึง "โฉมหน้าการศึกษาไทยที่แท้" ในยุคปัจจุบัน ที่กี่ยุค กี่สมัยก็ดูจะเหมือนเดิม หรือจะใช้คำว่า "อัปรีย์ไป จัญไรมา" ย่อมได้
อยากถามต่อไปว่า ครูไทยได้สอนการคิดเชิงวิพากษ์ให้แก่เด็กไหม? ครูสอนนักเรียนให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนร่วม ไม่ใช่แค่มีน้ำใจ แต่หมายถึงมนุษยชาติทั้งหมด ให้เด็กตระหนักถึงความอยุติธรรมหรือเปล่า? หรือเอาแต่ให้ใช้หัวสมองคิด คำนวณอย่างเดียว โดยไม่โยงไปหาหัวใจเลย แล้วความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน มีบ้างหรือเปล่า? หรือมีแต่ระเบียบพิธีกรรม ไสยศาสตร์ ซึ่งตกยุคพ้นสมัยไปแล้ว หรือเรียกมันได้ว่า สิ่งที่ปฏิกูลตกค้างจากยุคดึกดำบรรพ์ก็ได้
ที่เอ่ยมานี้ขอให้ทบทวนกัน คิดพิจารณากันให้มาก อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่เรายังไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาที่เข้าใจความทุกข์ของนักเรียน เห็นนักเรียนดั่งจักรกล ต้องอบรมมันเข้าวัดจะได้เป็นคนดี (วัดเดี๋ยวนี้ ล้วนแต่เลวร้าย มีแต่สนับสนุนทุนนิยม บริโภคนิยม ไสยเวทวิทยา มิจฉาชีวะ) เข้าใจครู ความทุกข์ยากของครู และไม่ได้มาจากเหล่าครูเอง แต่เป็นนักการเมืองที่ปราศจากวิสัยทัศน์ ตราบนั้น อย่าได้หวังเลยว่า การศึกษาไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่งอกงาม ดียิ่งขึ้น หรืออ้างคำท่านพุทธทาส ท่านเรียกมันว่า "การศึกษาแบบหมาหางด้วน" อย่าหวังเลย
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Netiwit Ntw
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล แชร์บทความวิจารณ์ระบบการศึกษาไทยผ่านเฟซบุ๊กอีกครั้ง ซัด ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยการศึกษาไทยก็ยังเหมือนเดิม แบบ อัปรีย์ไป จัญไรมา เชื่อ ระบบการศึกษาไทยไม่ดีขึ้นแน่ หากนักการเมืองไร้วิสัยทัศน์ ไม่เข้าใจความทุกข์ของครู-นักเรียน
หลังจาก นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย นักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ถูกชาวเน็ตวิจารณ์อย่างหนัก เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา จากกรณีออกมาโพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์ระบบการศึกษาของไทยว่า เน้นปลูกฝังความเป็นไทยผ่านเนื้อหาบทเรียนที่ล้าหลัง ทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อที่ผิด ๆ โดยอาศัยชื่อความเป็นไทยมาทำให้นักเรียนยกย่องเทิดทูน ยกระบบโซตัสให้สูง จนผู้น้อยไม่สามารถขัดแย้งใด ๆ ได้เลยนั้น
ล่าสุด ในวันนี้ (10 กรกฎาคม 2556) นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้นำบทความเรื่อง "อภิวัฒน์ระบบการศึกษา เพื่อพ้นจากการศึกษา แบบ "อัปรีย์ไป จัญไรมา” (๑)" ที่นายเนติวิทย์เคยเขียนไว้ใน เฟซบุ๊ก Netiwit Ntw ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 กลับมาแชร์ให้ผู้สนใจได้อ่านกันอีกครั้ง เพื่อตอกย้ำความคิดดังกล่าว
ทั้งนี้ ในบทความเรื่องนี้ นายเนติวิทย์ ได้ยกบทความเรื่อง "Education in Thai: A Terrible Failure" หรือ "การศึกษาไทย : ความล้มเหลวอย่างน่าบัดซบ" ที่เขียนขึ้นโดย Cassandra James อาจารย์ชาวต่างชาติคนหนึ่งที่เคยสอนในประเทศไทยมาให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยอาจารย์คนนี้วิเคราะห์ระบบการศึกษาไทยไว้ว่า ระบบการศึกษาไทยมีความเลวร้ายอย่างมาก ทั้งครูไร้ประสิทธิภาพ ได้รับค่าจ้างอยู่ในขั้นต่ำ นักเรียนไม่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ระบบราชการไทยเป็นแบบเจ้าขุนมูลนาย รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาไทยบริหารจัดการไม่เป็น และยังบอกด้วยว่า ระบบการศึกษาไทยเป็นระบบการศึกษาที่แย่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากยกบทความดังกล่าวขึ้นมาแล้ว นายเนติวิทย์ ก็ได้แสดงความเห็นเสริมเข้าไปว่า สิ่งที่ครูต่างชาติคนนี้เขียนแสดงให้เห็นว่าการศึกษาไทยไม่ว่าจะกี่ยุค กี่สมัย ก็ยังเหมือนเดิม อาจใช้คำว่า "อัปรีย์ไป จัญไรมา" ก็ยังได้ พร้อมตั้งคำถามด้วยว่า ครูไทยได้สอนการคิดเชิงวิพากษ์ให้แก่เด็กไหม และได้สอนเรื่องอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการใช้หัวสมองคิดคำนวณ โดยไม่โยงไปหาหัวใจเลยหรือไม่ จึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันทบทวนระบบการศึกษาด้วย
สำหรับข้อความทั้งหมดนั้น มีดังนี้
อภิวัฒน์ระบบการศึกษา เพื่อพ้นจากการศึกษา แบบ "อัปรีย์ไป จัญไรมา" (๑)
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
ขออุทิศบทความนี้แด่ ... อาร์ เนส (Arne Naess) – บิดาแห่งนิเวศวิทยาแนวลึก เนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปีชาตกาล
คำว่า "การศึกษา" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ให้คำจำกัดความว่า"เล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม" เป็นไปได้ทั้ง ๓ ความ คือ เล่าเรียน ๑ ฝึกฝน ๑ และอบรม ๑ พจนานุกรมฉบับนี้ขยายความว่า "เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความชำนาญ สามารถประกอบการงานอันเป็นอาชีพของตนได้ มีอนามัยร่างกายสมบูรณ์ มีจรรยาความประพฤติดี อันจะมีคุณประโยชน์แก่ตน ครอบครัว และส่วนรวม ในทางดำเนินวิถีชีวิต และทำให้เกิดสติปัญญา ความสามารถของตนที่เร้นอยู่ คลี่คลายเป็นความเจริญ ส่งผลให้เกิดความสุขสบายใจ" อันความหมายนี้ ดัดความมาจาก Education ของพจนานุกรมฝรั่งอีกที ในหนังสือ "ศึกษิต" ของ น.ม.ส. (พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์) ก็ให้คำจำกัดไปในทางนี้ก็คือ "ความงอกงาม"
๑. แล้วเวลานี้ การศึกษาไทย เป็นไปเพื่อความงอกงามแล้วละหรือ? เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และส่วนรวมจริงละหรือ? เป็นไปเพื่อนำสิ่งที่ "เร้นอยู่" หรือศักยภาพภายในของผู้เรียนออกมาได้ละหรือ? ดูคำนิยามคำว่า "การศึกษา" จากพจนานุกรมฉบับดังกล่าว เห็นจะไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มันอยู่ตรงข้ามกับความเป็นจริง คนจำนวนไม่น้อยคงจะคิดว่าคำนิยามนั้นเป็นคำลวงโลก หรือเป็นอุดมคติที่เกินจะอาจเอื้อม คงไม่ต้องขยายความ อาจจะบอกกล่าวก็ได้เลยว่าการศึกษาไทยเวลานี้ อัปลักษณ์แค่ไหน อย่างไร
ทั้งนี้ ข้าพเจ้าจะไม่เขียนเอง หากจะอ้างบทความ Education in Thai: A Terrible Failure (ข้าพเจ้าแปลชื่อหัวข้อว่า การศึกษาไทย: ความล้มเหลวอย่างน่าบัดซบ) บทความนี้เขียนโดยครูฝรั่งที่เคยสอนในประเทศไทย ซึ่งบัดนี้ย้ายไปสอนประเทศอื่นแล้ว นาม Cassandra James เธอเขียนไว้อย่างน่าสนใจ โดยที่วิจารณ์ความห่วยแตก บัดซบ ของระบบการศึกษาไทย สรุปได้ว่า เธอผู้นี้มาสอนอยู่ที่นี่ได้ไม่เท่าไร ก็รับรู้ถึงความทุเรศ ความเลวร้ายของระบบการศึกษาไทย – นักเรียนกว่า ๕๐ คน, ครูไร้ประสิทธิภาพในการสอน, เงินเดือนจ่ายต่ำ, เด็กนักเรียนไม่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์, อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ขาดแคลน, ดีแต่สร้างภาพ, ระบบราชการไทยเป็นแบบเจ้าขุนมูลนาย เหมือนตัวตลกหนึ่งเดียวของโลก ไม่เท่านั้น รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาไทยก็บริหารจัดการไม่เป็น แถมไม่ค่อยมีสติปัญญาเท่าไร ฯลฯ เธอสรุปไว้อย่างสั้น ๆ บรรทัดเดียวแต่เริ่มหัวข้อแล้วว่า ระบบการศึกษาไทยเป็นระบบการศึกษาที่แย่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมันเลวมากขึ้นทุกปี"
๒. หลังจากบทความนี้ซึ่งอันที่จริงเป็นบทความที่เขียนมายาวนานนับปีแล้วได้เผยแพร่ออกมา ก็กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ส่งต่อกันมากมาย หลายร้อย หลายพันครั้ง คงไม่มีใครปฏิเสธสิ่งที่เธอพูดว่าไม่จริง สิ่งที่เธอเขียนมันสะท้อนถึง "โฉมหน้าการศึกษาไทยที่แท้" ในยุคปัจจุบัน ที่กี่ยุค กี่สมัยก็ดูจะเหมือนเดิม หรือจะใช้คำว่า "อัปรีย์ไป จัญไรมา" ย่อมได้
อยากถามต่อไปว่า ครูไทยได้สอนการคิดเชิงวิพากษ์ให้แก่เด็กไหม? ครูสอนนักเรียนให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนร่วม ไม่ใช่แค่มีน้ำใจ แต่หมายถึงมนุษยชาติทั้งหมด ให้เด็กตระหนักถึงความอยุติธรรมหรือเปล่า? หรือเอาแต่ให้ใช้หัวสมองคิด คำนวณอย่างเดียว โดยไม่โยงไปหาหัวใจเลย แล้วความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน มีบ้างหรือเปล่า? หรือมีแต่ระเบียบพิธีกรรม ไสยศาสตร์ ซึ่งตกยุคพ้นสมัยไปแล้ว หรือเรียกมันได้ว่า สิ่งที่ปฏิกูลตกค้างจากยุคดึกดำบรรพ์ก็ได้
ที่เอ่ยมานี้ขอให้ทบทวนกัน คิดพิจารณากันให้มาก อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่เรายังไม่มีรัฐมนตรีกระทรวงการศึกษาที่เข้าใจความทุกข์ของนักเรียน เห็นนักเรียนดั่งจักรกล ต้องอบรมมันเข้าวัดจะได้เป็นคนดี (วัดเดี๋ยวนี้ ล้วนแต่เลวร้าย มีแต่สนับสนุนทุนนิยม บริโภคนิยม ไสยเวทวิทยา มิจฉาชีวะ) เข้าใจครู ความทุกข์ยากของครู และไม่ได้มาจากเหล่าครูเอง แต่เป็นนักการเมืองที่ปราศจากวิสัยทัศน์ ตราบนั้น อย่าได้หวังเลยว่า การศึกษาไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่งอกงาม ดียิ่งขึ้น หรืออ้างคำท่านพุทธทาส ท่านเรียกมันว่า "การศึกษาแบบหมาหางด้วน" อย่าหวังเลย
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ยกเลิกความเป็นไทยไม่พอ ไหว้ครู.คลานเหมือนเดรัจฉาน!!
1 ก.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย และบรรณาธิการ นิตยสารปาจารย์สาร ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว ที่ใช้ชื่อว่า Netiwit Ntw โดยโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา แสดงความเห็นภายใต้เรื่องว่า ความเป็นไทยตั้งแต่หัวจรดตีน – ผ่านระบบการศึกษาไทย โดยเขียนถึงระบบการศึกษา เนื้อหาสาระ และเรื่องการเรียนการสอน
นายเนติวิทย์ โพสต์ตอนหนึ่งว่า ระบบโซตัส เป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับประเทศแห่งนี้ ความคิดการจัดวางลำดับชั้นต่ำสูง ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ ครู – นักเรียน แบบพ้นยุคพ้นสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ นักเรียนก็ไม่เท่าเทียมกับครู ปัญหาการโต้เถียงถกเถียงครูอาจารย์ในสังคมไทยบางทีก็เป็นเรื่องรับไม่ได้ นักเรียนคิดแย้งก็มีน้อยและส่วนมากไม่กล้า เพราะสภาพที่กดดันและอำนาจนิยม
แม้ครูกับครูเองก็มีปัญหา คือผู้บริหารคิดว่าตัวเองวิเศษ สูงส่งกว่าครูธรรมดา ครูก็มีหน้าที่รับฟัง เชื่อฟัง ขัดแย้งไม่ได้ แม้มีคนขัดแย้งก็หาพวกรวมกลุ่มกันได้ยาก เพราะครูเองก็เคยเป็นนักเรียนถูกหลอมผ่านระบบการศึกษาที่เห็นระบบอาวุโส เป็นของดี วันไหว้ครูก็ต้องหมอบคลานเข้าไปเหมือนสิงสาราสัตว์ แล้วก็อ้างว่า เป็นของไทย น้ำตาจะไหลเพราะซึ้งจัด
ในเรื่องของเนื้อหาสาระนั้น เน้นไปเฉพาะวิชาสังคมศึกษา หมวดประวัติศาสตร์ เราแคบมาก เน้นการท่องจำจนเกินไป แบบไม่มีความสุข ไม่ให้ศึกษาวิเคราะห์ ซ้ำร้ายที่สุดคือชุดความคิดที่พวกเขาสร้างประดิษฐ์กรรมขึ้นมา ซึ่งซึมเข้าสู่สังคมจนสังคมเป็นแบบที่เราเห็น ไม่มีการเรียนการสอน การศึกษาอดีตของเราจึงเป็นของปลอม ไม่ให้คนมีความลึกซึ้ง คนที่อยากจะเรียนรู้จึงหวังพึ่งตำราเรียนไม่ได้
ข้อความที่นายเนติวิทย์โพสต์ลงเฟซบุ๊ค
https://www.facebook...144948172233316
นักเรียนส่วนมากถูกปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ปลุกฝังเรื่องของการเสียดินแดน 14 ครั้ง ทั้งที่ดินแดนเหล่านั้นไม่ใช่ของไทยจริงๆ อาการเหยียดเพื่อนบ้านก็ย่อมมี แสดงว่าเราจะเข้าประชาคมอาเซียนแบบดูถูกเพื่อนบ้าน ไม่เป็นเรื่องที่ฉลาดเลย พวก 14 ตุลา หรือ 6 ตุลาคม เราได้บทเรียนอะไรไม่มี ประวัติศาสตร์ของเราที่สอนๆกัน เน้นไปเมื่อ 100 – 700 ปีที่แล้ว ดังนั้นคนในประเทศเราไม่แปลกที่มีความคิดแบบ หนึ่งร้อยปีก่อน ก็ไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักนายปรีดี พนมยงค์ นายป๋วย อึ้งภากรณ์
นายเนติวิทย์ โพสต์ในเรื่องการสอนว่า มี 2 แบบ คือ 1.สอนให้โง่ กับ 2.สอนให้ฉลาด เวลานี้ดูเหมือนสอนให้โง่ ถ้าสอนให้ฉลาดต้องสอนให้มีการตั้งคำถาม ตรวจสอบกับอดีตซึ่งมีผลกับปัจจุบันทั้งนั้น เหตุใด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ไม่มี การสอนแบบนี้คือสอนให้โง่
“สุดท้ายแม้เราจะไม่รู้หรอกว่าความเป็นไทยคืออะไร ถามครู ถามนักเรียน ถามใครๆ หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ แต่เราก็ยังยินดีอุทิศตัวให้กับนามธรรมแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองเห็นว่าเป็นของดี เพราะถ้าคุณถาม อำนาจของพวกเขาก็สั่นคลอน ความเป็นไทยที่ครอบงำสมอง ทรงผม เครื่องแบบ จากหัวจรดตีน ก็จะพินาศไป ผมอยากให้เราไปพ้นความเป็นไทย ซึ่งความเป็นไทยแบบนี้คือความเป็นทาสที่ไม่ต้องล่ามโซ่พันธนาการก็ยินดีกับความเป็นทาส ฉีกกรอบไปหาความเป็นไท ที่อิสรเสรี แล้วคิดว่านักเรียนเวลานี้ก็ตื่นตัวกันมากแล้วที่จะเป็นไท”
http://www.naewna.com/local/58054
นายเนติวิทย์ โพสต์ตอนหนึ่งว่า ระบบโซตัส เป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับประเทศแห่งนี้ ความคิดการจัดวางลำดับชั้นต่ำสูง ระบบอาวุโส ระบบอุปถัมภ์ ครู – นักเรียน แบบพ้นยุคพ้นสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ นักเรียนก็ไม่เท่าเทียมกับครู ปัญหาการโต้เถียงถกเถียงครูอาจารย์ในสังคมไทยบางทีก็เป็นเรื่องรับไม่ได้ นักเรียนคิดแย้งก็มีน้อยและส่วนมากไม่กล้า เพราะสภาพที่กดดันและอำนาจนิยม
แม้ครูกับครูเองก็มีปัญหา คือผู้บริหารคิดว่าตัวเองวิเศษ สูงส่งกว่าครูธรรมดา ครูก็มีหน้าที่รับฟัง เชื่อฟัง ขัดแย้งไม่ได้ แม้มีคนขัดแย้งก็หาพวกรวมกลุ่มกันได้ยาก เพราะครูเองก็เคยเป็นนักเรียนถูกหลอมผ่านระบบการศึกษาที่เห็นระบบอาวุโส เป็นของดี วันไหว้ครูก็ต้องหมอบคลานเข้าไปเหมือนสิงสาราสัตว์ แล้วก็อ้างว่า เป็นของไทย น้ำตาจะไหลเพราะซึ้งจัด
ในเรื่องของเนื้อหาสาระนั้น เน้นไปเฉพาะวิชาสังคมศึกษา หมวดประวัติศาสตร์ เราแคบมาก เน้นการท่องจำจนเกินไป แบบไม่มีความสุข ไม่ให้ศึกษาวิเคราะห์ ซ้ำร้ายที่สุดคือชุดความคิดที่พวกเขาสร้างประดิษฐ์กรรมขึ้นมา ซึ่งซึมเข้าสู่สังคมจนสังคมเป็นแบบที่เราเห็น ไม่มีการเรียนการสอน การศึกษาอดีตของเราจึงเป็นของปลอม ไม่ให้คนมีความลึกซึ้ง คนที่อยากจะเรียนรู้จึงหวังพึ่งตำราเรียนไม่ได้
ข้อความที่นายเนติวิทย์โพสต์ลงเฟซบุ๊ค
https://www.facebook...144948172233316
นักเรียนส่วนมากถูกปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ปลุกฝังเรื่องของการเสียดินแดน 14 ครั้ง ทั้งที่ดินแดนเหล่านั้นไม่ใช่ของไทยจริงๆ อาการเหยียดเพื่อนบ้านก็ย่อมมี แสดงว่าเราจะเข้าประชาคมอาเซียนแบบดูถูกเพื่อนบ้าน ไม่เป็นเรื่องที่ฉลาดเลย พวก 14 ตุลา หรือ 6 ตุลาคม เราได้บทเรียนอะไรไม่มี ประวัติศาสตร์ของเราที่สอนๆกัน เน้นไปเมื่อ 100 – 700 ปีที่แล้ว ดังนั้นคนในประเทศเราไม่แปลกที่มีความคิดแบบ หนึ่งร้อยปีก่อน ก็ไม่แปลกที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักนายปรีดี พนมยงค์ นายป๋วย อึ้งภากรณ์
นายเนติวิทย์ โพสต์ในเรื่องการสอนว่า มี 2 แบบ คือ 1.สอนให้โง่ กับ 2.สอนให้ฉลาด เวลานี้ดูเหมือนสอนให้โง่ ถ้าสอนให้ฉลาดต้องสอนให้มีการตั้งคำถาม ตรวจสอบกับอดีตซึ่งมีผลกับปัจจุบันทั้งนั้น เหตุใด ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ไม่มี การสอนแบบนี้คือสอนให้โง่
“สุดท้ายแม้เราจะไม่รู้หรอกว่าความเป็นไทยคืออะไร ถามครู ถามนักเรียน ถามใครๆ หาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ แต่เราก็ยังยินดีอุทิศตัวให้กับนามธรรมแบบนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองเห็นว่าเป็นของดี เพราะถ้าคุณถาม อำนาจของพวกเขาก็สั่นคลอน ความเป็นไทยที่ครอบงำสมอง ทรงผม เครื่องแบบ จากหัวจรดตีน ก็จะพินาศไป ผมอยากให้เราไปพ้นความเป็นไทย ซึ่งความเป็นไทยแบบนี้คือความเป็นทาสที่ไม่ต้องล่ามโซ่พันธนาการก็ยินดีกับความเป็นทาส ฉีกกรอบไปหาความเป็นไท ที่อิสรเสรี แล้วคิดว่านักเรียนเวลานี้ก็ตื่นตัวกันมากแล้วที่จะเป็นไท”
http://www.naewna.com/local/58054
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
'ประวิตร' สัมภาษณ์ 'เนติวิทย์' ว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย
'ประวิตร'
สัมภาษณ์ 'เนติวิทย์' ว่าด้วยการปฏิรูประบบการศึกษาไทย
Mon, 2013-09-02 15:57
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวเดอะเนชั่น
สัมภาษณ์ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล วัย 16 ปี ผู้วิพากษ์ระบบการศึกษาไทยที่น่าจะอายุน้อยที่สุด
เนติวิทย์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย
เครือข่ายนักกิจกรรมหนุ่มสาวกว่า 30 คน ซึ่งต้องการปฏิรูประบบการศึกษาและผ่อนคลายกฎระเบียบที่เข้มงวด
ประวิตร: ทำไมคุณดูเหมือนมีปัญหากับระบบการศึกษาไทยมาก
เนติวิทย์: เพราะว่าโดยส่วนตัวแล้ว
ระบบการศึกษาของไทย เป็นระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้คิดแย้งได้ ตั้งคำถามได้
เมื่อผมตั้งคำถาม ผมจึงกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา
หลักๆ ปัญหาการศึกษาไทย
ถ้าจะพูดลงไปรายละเอียดให้มากกว่านี้มันอยู่ไหน เพราะในด้านหนึ่ง ถ้ามองแบบคอนเซอร์เวทีฟ
คนก็จะมองว่า การศึกษาไทยไม่ได้มีคุณภาพระดับโลก แต่ผมเข้าใจว่าคุณไม่ได้มองแบบนั้น
คุณมองในแง่ของการเรียนรู้ โอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก หรือแม้กระทั่งความสุขของครู
การศึกษาไทยในมุมมองผมเป็นปัญหาเกี่ยวกับสวัสดิการของครูและนักเรียน
ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจอยู่ในฝ่ายผู้บริหารเท่านั้น ซึ่งเป็นแบบนี้เกือบทุกโรงเรียน
ห้องเรียนมีนักเรียนจำนวนมาก ผมก็มองทั้งปัญหาที่ต้องมองอย่างสากล และปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ในความเป็นจริงคือคนที่ออกมาเรียกร้องยังเป็นนักเรียนส่วนน้อยใช่ไหม
แสดงว่าเขาไม่สนใจ หรือเพราะเขาไม่ตระหนัก หรือว่าเขาไม่กล้าออกมาเรียกร้อง
ผมคิดว่าจริงๆ นักเรียนที่ออกมาเป็นส่วนหนึ่ง
ก็มีอีกจำนวนหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่น้อยเลยทีเดียวที่มีความกล้า แต่ว่าความกล้านั้นอาจจะยังไม่ถึงขั้นที่ออกมาเรียกร้อง
แต่ก็ต้องยอมรับครับว่าส่วนใหญ่ก็อาจจะยังไม่ตระหนักถึงขั้นที่ออกมาเรียกร้อง
แต่อย่างไรก็เชื่อว่าคนส่วนใหญ่อาจจะเห็นปัญหานี้
แต่เขาอาจจะไม่ได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้ตั้งคำถามอย่างต่อเนื่อง มันอาจจะมีบ้างที่เขาฉุกคิดขึ้นมาบ้าง
แต่ก็เงียบกลับลงไป เพราะเห็นว่า ทนๆ ไปดีกว่า
มีหลายข้อเรียกร้องของคุณ
ซึ่งรวมถึงสิทธิในการไว้ผมยาว เรื่องการยืนเคารพธงชาติ หรือสวดมนต์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้บางคนมองว่าวิธีการนำเสนอหรือการเรียกร้องออกไปในแนวก้าวร้าว ตรงนี้มีความเห็นว่าอย่างไร
ผมก็แปลกใจเหมือนกันที่มันออกมาในลักษณะที่ดูก้าวร้าว
แต่ก็ต้องยอมรับว่า วิธีการนำเสนอของผมอาจจะเป็นวิธีการนำเสนอที่คนไม่ค่อยชอบ เพราะผมก็เป็นคนพูดจาแบบนี้อยู่แล้ว
พูดจาไม่มีหางเสียง แล้วก็มีอะไรก็พูดๆๆ ออกมา บางทีก็คิดไม่ทันบ้าง แล้วก็ไม่เคยเตรียมเลย
เวลาไปออกรายการ ส่วนมากผมก็ไม่ได้เตรียมอะไรทั้งนั้น ทำให้มีปัญหา ผมก็รู้สึกแปลกว่าผมโดนเล่นงานหนักกว่าเพื่อนอีก
ผมเนี่ยเรียกร้องแค่ยกเลิกความเป็นไทยสั้นๆ แค่นั้นเอง เพื่อนผมนี่เขาเรียกร้องยกเลิกเคารพธงชาติ
ยกเลิกสวดมนต์ที่ออกรายการของวอยซ์ทีวี แต่ผมกลับโดนหนักกว่า อาจเป็นเพราะคนไทยชอบสัมมาคารวะอะไรเยอะๆ
ผมก็คงต้องปรับ
คุณขยายความยกเลิกความเป็นไทยหน่อยได้ไหมว่ามันมีรายละเอียดอย่างไร
ยกเลิกความเป็นไทย พอพูดจาแบบนี้ออกมา
คนก็อาจจะคิดว่าผมรุนแรง แต่จริงๆ ถ้าเขามองอย่างกว้างๆ ก็จะเห็นว่าความเป็นไทยที่ผมเรียกร้อง
ก็คือความเป็นไทยที่ถูกสร้างขึ้นมา เป็นความเป็นไทยที่ไม่มีประโยชน์ เป็นความเป็นไทยที่ไม่มีเหตุผล
แล้วก็ความเป็นไทยตรงนี้ก็เอาไปผูกโยงกับวัฒนธรรมการห้ามเถียงห้ามถาม อาทิเช่น กรณีทรงผมนักเรียน
กรณีเคารพธงชาติ ก็อ้างว่านี่คือความเป็นไทย เราเป็นคนไทย ชาติไทยไม่เหมือนชาติอื่นในโลก
อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเขาก็เลยได้รับรู้มาแบบนี้ว่าอ๋อนี่คือความเป็นไทย ทำให้ความเป็นไทยกลายเป็นสิ่งที่เลวร้ายไปเลย
ทำให้ผมเสนอยกเลิกความเป็นไทยตรงนี้
ที่สื่อให้ความสนใจคุณ
ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาจริงๆ แล้วแทบไม่มีนักเรียนสนใจเลยใช่ไหม
คุณคิดว่า มันเป็นเรื่องที่นักเรียนควรจะต้องสนใจมากกว่านี้หรือไม่ เพราะอีกด้านหนึ่ง
นักเรียนก็อาจจะมองว่าขณะที่เป็นนักเรียนหน้าที่หรือสิ่งที่ตนเองจะต้องทำก็คือ พยายามเข้ามหาวิทยาลัยหรือคณะดีๆ
ให้ได้ และคงไม่มีเวลา หรือไม่ควรเสียเวลาต่อสู้กับการเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนระบบการศึกษา
ผมก็คิดว่านี่เป็นปัญหาหนักมากที่สุดเลย
เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของสมาพันธ์นักเรียนฯ ต้องการให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ ออกมาพูดเรื่องปัญหาให้ชัดเจน ไม่ใช่คอยฟัง-เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็ยังล้มเหลว อาจจะเป็นเพราะกระบวนการ-ยุทธวิธีของเราที่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก แน่นอนครับ ผมต้องการให้นักเรียนตื่นขึ้นมาและตระหนักปัญหานี้
แต่เพราะสภาพแวดล้อมมันค่อนข้างกดดันมาก และมันปิดกั้นทั้งหมด และประเทศเรา เราถูกครอบงำด้วยวิธีคิดทางเศรษฐกิจที่มีแต่ความโลภเท่านั้น
ทำให้คนแต่ละคนต้องมุ่งแข่งขันกัน เอาเปรียบซึ่งกันและกัน แม้แต่ครูที่โรงเรียนเองก็สอนว่าเราจะต้องโตเป็นเจ้าคนนายคน
ซึ่งมันเป็นวิธีคิดที่ไม่เห็นความร่วมมือสำคัญ แต่การแข่งขันสำคัญกว่า อันนี้ก็ต้องให้จิตใจของนักเรียนแต่ละคนต้องกล้าหาญ
เอาชนะความกลัวสิ่งนี้ให้ได้ ไม่เพียงเท่านี้ ภาครัฐถ้ามีสติปัญหาและมีแววตาที่ชัดเจน
ก็ควรจะเปิดกว้างทางความคิดให้มาก ให้แต่ละคนสามารถคิด และผู้ปกครองก็ไม่ควรมองว่าลูกเราต้องจบมาเป็นแบบนี้
เป็นหุ่นยนต์กลไก ต้องเปิดกว้างให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ ต้องอาศัยหลายภาคส่วน สำคัญก็คือต้องให้นักเรียนที่มีความกล้าอยู่แล้ว
ให้ตระหนักและลุกขึ้นมา และสู้ให้ได้
เด็กหรือนักเรียนไทยรุ่นคุณทุกวันนี้คิดว่ามีข้อดีข้อเสียโดยรวมอย่างไรบ้าง
ข้อดีคือ เทคโนโลยีเปิดกว้างมาก
เรามีความรู้จากตะวันตกเยอะ อาจจะทำให้วิธีคิดเรากว้างขึ้นด้วย ซึ่งสำคัญมาก ทำให้เรารู้จักสิทธิเสรีภาพ
ก็ต้องยอมรับว่าพวกนี้เป็นวัฒนธรรมตะวันตกทั้งนั้น แต่ข้อเสียก็คือ บางทีถ้าเราเป็นปัจเจกนิยมมากเกินไป
ไม่ใส่คนอื่น การเปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ จะทำให้เรามุ่งได้เรื่องเงินเรื่องทองอย่างเดียว
ไม่ได้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม
คอนเซ็ปต์เรื่องความเป็นเด็กและเป็นผู้ใหญ่
เป็นปัญหาต่อเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยของสังคมไหมในความเห็นของคุณ เพราะหลายครั้งที่เรื่องของคุณได้รับการรายงาน
คนที่ไม่เห็นด้วยก็มักจะเอาเรื่องที่คุณอายุ 16 ปีหรือ "เป็นเด็ก" มาโจมตี-ลดทอนน้ำหนักของสิ่งที่คุณพยายามนำเสนอ
ผมคิดว่ามันเป็นปัญหา แต่คิดว่าเขาต้องมองให้ถูกต้อง
คือนักเรียนเรียกร้องเขาน่าจะยอมรับมากกว่าผู้ใหญ่เรียกร้อง เพราะว่านักเรียนเห็นปัญหาอย่างชัดเจนที่สุด
เพราะกำลังเรียนหนังสืออยู่ ขณะที่ผู้ใหญ่หรือนักวิชาการ ส่วนมากอยู่กับเอกสารและไม่ได้อยู่กับสภาพความเป็นจริงของระบบการศึกษาไทย
ดังนั้น วัฒนธรรมผู้ใหญ่จึงเป็นปัญหามากที่สุด ซึ่งจริงๆ ผมไม่ได้มีปัญหานะ ถ้าจะมีทั้งผู้ใหญ่
มีเยาวชน แต่ไม่ใช่ผู้ใหญ่ทำอะไรถูกหมดเลย
พวกครูบาอาจารย์สั่งสอนตลอดเวลาว่ามีครู
มีนักเรียน มีความแตกต่างกัน สั่งสอนอยู่ตลอด ทำให้ความเป็นผู้ใหญ่กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
มองนโยบายการจัดการเรื่องการศึกษาภายใต้รัฐบาลเพื่อไทยอย่างไรบ้าง
คิดว่าแตกต่างจากพรรคประชาธิปัตย์หรือสมัยก่อนๆ ที่พอรับทราบไหม
อย่างรัฐบาลนี้คงต้องการให้เยาวชนรู้สึกชื่นชอบเขา
เลยออกนโยบาย เช่น ยกเลิกทรงผม ให้ดูทำจริงจัง เปลี่ยนแปลง แต่ผมรู้สึกว่าเขาไม่ได้ทำอย่างจริงจัง
ไม่ได้เห็นปัญหาการศึกษาสำคัญจริงๆ ถ้าเขาเห็นปัญหา เขาควรจะลงไปดูสภาพปัญหาจริงๆ อันนี้เขาก็อยู่ในกระทรวง
บอกว่าจะปฏิรูป ผมว่าของปลอม
ผมไม่เคยคาดหวังรัฐบาลชุดนี้อยู่แล้ว
รวมถึงรัฐบาลชุดอื่น ผมเคยส่งจดหมายในนามส่วนตัวถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์
และ พงศ์เทพ คนพวกนี้ก็ตอบมาดี อภิสิทธิ์เขียนตอบมาเองเต็มหน้าเลย ยิ่งลักษณ์และพงศ์เทพให้เลขาฯ
ตอบ ก็ตอบมาดี แต่ข้อเสนอของผม ไม่เห็นมีการดำเนินการจริงจัง ก็ตอบเป็นมารยาทเท่านั้น
ที่ผมยื่นไปเป็นข่าว เพราะต้องการให้นักเรียนรู้ว่าไม่ได้โดดเดี่ยว มีคนที่ทำอยู่ และอยากให้มารวมกัน
นี่คือวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เจ้าว่างามใยจะต้องตามเจ้า
ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า ใครใดเล่าจะไม่งามตามเสด็จ.
จำไว้ทุกสิ่งจริงหรือเท็จ พริกไทยเม็ดนิดเดียวเคี้ยวยังร้อน
อิศรญาณภาษิต
ข้าพเจ้าได้ชมวิดีโอ “เสียดินแดน ๑๔ ครั้ง” ซึ่งนำมาฉายซ้ำซาก ตั้งแต่สมัยข้าพเจ้ายังวัยใกล้ตายน้อยมายังใกล้ตายมากขึ้น คือ มันถูกฉายซ้ำมา ผลิตวาทะกรรม “เสียดินแดน”ซ้ำไปมา จนข้าพเจ้ารู้สึกเอียน วิดีโอชุดนี้แทบจะไม่มีประโยชน์อันใดเลยนอกจากจะขยายให้เราเห็นว่า ในอดีตดินแดนของเรานั้นไม่ใช่เล็กๆแบบนี้แต่เป็นถึงขั้น “มหาอาณาจักรไทย” (คนที่เอาเรื่องนี้มาลวงคนไทยให้(หลง)คือ หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร สามารถหาอ่านได้ในงานวิจัย ของ ศ.ดร.สายชล สัตยานุรักษ์) เรื่องประเทศสยาม(ขอเรียกชื่อประเทศแห่งนี้ดังเดิมว่า “สยาม” เพราะ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับกับคำว่า “ไทย”) เรื่องเสียดินแดน นั้นเราต้องเข้าใจว่า เขตแดนในอดีตไม่มีการตีตราแน่ชัด จะมีตีตราก็ในสมัยก่อนๆนั้น เราไม่มีแผนที่เลย ในเขตแดนนั้นๆก็มีการผสมหลากเชื่อพันธุ์ แก่งแย่งตีกัน สลับเจ้าเมืองเจ้าแผ่นดิน ของประเทศนั้นๆ จะไปหาอย่างตายตัวว่าของใคร? นั้นไม่ได้ คนที่ทำแผนที่ให้เราก็เป็น ชาวตะวันตก (แล้วพวกคลั่งชาติไทย ก็ยอมรับตามแผนที่พวกฝรั่งว่าเราเสียดินแดน ๑๔ครั้ง ผมว่ามัน ตรรกะวิปลาส) อีกนัยหนึ่ง เจ้ากรุงเทพฯ ได้รับผลประโยชน์จากเรื่องนี้ๆด้วย อย่าบอกว่าเราเสียอย่างเปล่าๆ แล้วทำซึ้ง ดราม่า มันเป็นการแสดงออกโดยไม่สมประกอบแต่อย่างใด สยามก็เป็นจักรวรรดิเหมือนๆกัน เป็นคนล่าอาณานิคมเหมือนกัน รัฐบาลสยามโอนอ่อนให้ตามความต้องการ เพราะที่จริงฝ่ายชนชั้นปกครองยามก็ได้ประโยชน์จากการขายทรัพยากรแก่มหาอำนาจอยู่ด้วย(เช่น ป่าไม้ให้ทั้งค่าสัมปทานและอำนาจเหนือรัฐท้องถิ่น) การสถาปนาอำนาจชาตินิยมที่เราได้รับมานั้น เป็นการรับรู้ของคนเพียง ๑๐๐ กว่าปีนี้เท่านั้นเอง (โดยเริ่มแต่เสด็จพ่อร.๕) เป็นต้น ซึ่งได้รวมศูนย์อำนาจมาส่วนกลาง เหมือนลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งในระยะเวลาหลังจากนั้น ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจ ก็ได้ปรากฏชัดออกมาเรื่อยๆ และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ สยามแต่ก่อนต้องการไพร่พลมากกว่าที่ดิน ถ้าเราดูอย่างตอนอภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕ ประชาชนมีประมาณเพียง ๑๑ ล้านคน (และถ้าย้อนไปในสมัยเสด็จพ่อร.๕ ก็น่าจะประมาณ ๗-๘ ล้านคน) โดยถ้าย้อนกลับไปถึง ร.๑ ที่อ้างว่าเสียดินแดนประชาชนในเวลานั้นจะมีน้อยขนาดไหน แล้วจะเอาที่ดินมากมายไปทำอะไร ในสายตาเจ้ากรุงเทพฯแล้ว ประชาชนจำนวนพลตะหากเป็นการแสดงถึงอำนาจบารมี ที่ดินส่วนใหญ่จึงรกร้าง ดินแดนสำหรับเจ้ากรุงเทพฯแล้วแทบไม่มีประโยชน์อันใดเลย แต่เราก็รับความคิดที่ผิดๆ ยิ่งประชาชนสมัยก่อนๆนั้นถ้าพิจารณาตามประวัติศาสตร์ สมัยเสด็จพ่อร.๕ ไม่มีออกมาประท้วงเรียกร้องดินแดนที่เสียคืนเลย ๑๓ ครั้งน่ะ (๑๔ รวมเขาพระวิหาร อันโกหกตอแหลหน้าด้านๆ) นี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า ประชาชนสมัยนั้นซึ่งน่าจะมีความรักชาติมากกว่าคนสมัยนี้(คนสมัยนี้มักเอาคนเมื่อก่อนเป็นโมเดล เช่น อ่าน “สี่แผ่นดิน” แล้วคลั่งอยากย้อนยุค) แต่คนสมัยก่อนๆ กลับไม่ออกมาประท้วงแต่อย่างใด จะมีประท้วงก็ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งได้แสดงออกถึงการใช้ระบอบฟาสซิสต์มาปกครอง และเปลี่ยนชื่อ สยาม มาเป็น ไทย แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสยาม ไม่มีความรับรู้เรื่อง “เสียดินแดน” แต่ที่เรารู้ๆและเชื่อๆ เป็นความคิดของเจ้ากรุงเทพแทบทั้งสิ้น แล้วคุณจะคลั่งอะไรกัน?
การสอนประวัติศาสตร์ที่เป็นอันตราย
แม้กระนั้นโรงเรียนและสถาบันต่างๆ ก็ยังสอนเรื่อง “เสียดินแดน ๑๔ ครั้ง” ประกอบไปด้วยเพลงชาตินิยมต่างๆ ซึ่งเพลงเหล่านั้นเป็นมรดกของยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม (เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการด้วยว่า จอมพลป. ขัดแย้งกับ กษัตริย์ไทย อย่างรุนแรง) การสอนที่ให้คิดว่าชาติตนยิ่งใหญ่นั้น สำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่านั้นเป็นการอาการทางจิตของคนไทย(ส่วนหนึ่ง) ซึ่งเชื่อไปด้วยก็อยู่ในวิสัยนี้คือ มีปมด้อย ด้วยความจริงชาติไทยไม่ยิ่งใหญ่แต่อย่างใด แต่ตนก็พยายามเชื่อ เครื่องดนตรีไทยที่หนึ่งของโลก(ตราไว้ด้วยว่า เครื่องดนตรีต่างๆเป็นสมบัติร่วมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) อาหารอร่อยที่สุดในโลก(นี้คือพวกดักดานโดยแท้จริง ไม่เคยชิมอาหารอะไรเลย แล้วโปรดตราไว้ด้วยว่าส่วนประกอบต่างๆในการทำอาหาร นั้น ก็ใช้ว่าจะไทยแท้ โปรดพิจารณาด้วย) อาการเหล่านี้ที่ ดราม่า แสดงออกมา ไม่ได้มีสาระความจริงอย่างใด แต่หลงตัวเองไป ผู้จะมาว่าผู้เขียนว่าไม่มีสติ(โปรดพิจารณาด้วยว่าตนมีสติและสัมปชัญญะในการรับรู้ แยะแยะหรือเปล่า?) เมื่อสอนประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบนี้ ผู้เรียน-ผู้ฟัง แน่นอนว่าต้องมีอาการ “RACISM” คือ เกิดการคลั่งในชาติ ในสีผิว ชาติพันธุ์ และดูถูกประเทศเพื่อนบ้าน แต่โปรดพิจารณาดีๆนะ ประเทศที่เราเกลียดนะ วัฒนธรรมของพวกเขายังไม่แปลงกายเหมือนวัฒนธรรมเราเลยที่หันไปหาฝรั่ง (แล้วบอกอย่างดัดจริตว่า เราไทยแท้ ถ้าไทยแท้จริง คุณก็นุ่งโจงกระเบนมา(ก็ไม่ใช่ของไทยอีกหล่ะ) ไม่ต้องใช้คอมฯ โน๊ตบุ๊ก เพราะมันของฝรั่ง) แหม! เดี๋ยวนี้บางทีการเรียน-การสอน ยังต้องใช้ภาษาอังกฤษเลย (ไม่ได้ Irony ใครน่ะ ขอเขียนทับศัพท์เพราะไม่ใช่คนไทยคลั่งชาติ) ไทยนี้แลตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่งกว่าประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสียอีก พม่า ถอดรองเท้าเข้าวัดยังไม่ได้เลย เพราะเขาเคารพพระพุทธ ยำเกรง ไทยไม่มีเลย ลาว เขาเป็นคอมมิวนิสต์(ปลอม)มาแล้ว แต่ยังผูกติดกับวัฒนธรรมดังเดิม แต่เราเจ๊งหมด นางนพมาศ(มีจริงๆสมัย ร.๓ ไม่ใช่ในสมัยสุโขทัย!) เราไว้ให้ใครดูหล่ะ เป้าหมายหลักคือ “ฝรั่ง”ให้ชื่มชมวัฒนธรรมไทยอันดีงาม นี้ไม่เรียกว่าปมด้อยแล้วเรียกว่าอะไร? การสอนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม เสียดินแดน เสียเขาพระวิหาร มีโทษมากกว่าคุณ จะเข้าประชาคมอาเซียนเสรีแล้ว แต่ยังดั้นด้นสอนให้เกลียดเพื่อนบ้าน เหมือน ๖ ตุลา ๒๕๑๙ พวกโดนปลูกฝังให้คลั่งชาติมากๆ ก็เห็นพวกนักศึกษาไม่ใช่ “พวกฉัน” แต่เป็น “ญวณ” สมัยนั้นญวณเป็นคอมมิวนิสต์ มันจะล้มล้างสถาบันฯ ต้องฆ่ามันให้หมด เป็นญวณเสียหายอะไรไหม? และมันก็ปรากฏว่าไม่จริง แต่เราไม่เอาข้อหานั้นแล้ว แต่เปลี่ยน ข้าพเจ้าเขียนแบบนี้อาจจะโดนหาว่า “ไม่รักชาติ” นี้คือปัญหาสังคมไทย ให้คิดเหมือนๆกัน ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องงามตามเจ้า สติปัญญาเท่ากับทารกไร้เดียงสา คนมีตั้ง ๗๐ ล้านให้ทุกคนคิดเหมือนกัน ไม่ฟังความเห็น มาถกเถียง เอาแต่จับ ทำทัณฑ์ ไล่ออกนอกประเทศ (มึงไม่ใช่คนไทย) แล้วจะไม่บอกว่าพวกนี้สติปัญญาเท่ากับเด็กทารกได้อย่างไร? ไม่ว่าใครก็ตามที่สอนเยาวชนหรือหลอกลวงประชาชน ก็ควรจะรับผิดชอบกับที่ตนสั่งสอนเขา และพวกไม่หลงเชื่อ ก็อย่านิ่งเฉย ควรเผยแพร่ทัศนะที่ถูกต้อง อย่าให้รุนแรงไปมากกว่านี้ ที่เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น ก็เพราะมีอาการคลั่งแบบนี้แล คลั่งชาติว่าตนประเสริฐสุด ถ้านิ่งเฉยนี้ก็ เลวร้ายมากเลยทีเดียว ขอเอาคำของไอสไตน์มาเตือนสติ(โปรดหารูป ๖ ตุลา ๒๕๑๙ และ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เป็นตัวอย่าง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระบบการศึกษาไทย ไม่เอ่ยอย่างลึกซึ้งถึงความเหี้ย ของฮิตเลอร์เอาเลย ขอใช้คำว่า “เหี้ย”เลย เพราะฮิตเลอร์นั้นเลวร้ายอย่างสุดๆ ไม่ขอพรรณนาความชั่วของมัน) ไอสไตน์กล่าวว่า
"โลกนี้เต็มไปด้วยอันตรายมิใช่เพราะมีคนทำสิ่งชั่วร้าย แต่เป็นเพราะมีคนยืนดูเฉยๆ และปล่อยให้มีการทำสิ่งชั่วร้าย"
เมื่อสงฆ์ไม่เป็นสงฆ์ สอนธรรมะไม่สอน แต่สอนให้ “คลั่งชาติ”
ขอวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์อย่างตรงไปตรงมา ในฐานะคนที่มาต้นทุนทางสังคมสูง คำพูดมีคนเชื่อถือมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ได้ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่านรกจะกินกะบาล (ถ้าเราเชื่อว่าพุทธศาสนาเป็นเหตุ-ผล ย่อมวิพากษ์สิ่งที่ไร้เหตุ-ผลได้ สิ่งที่วิปลาสได้) เดี๋ยวนี้การสอนธรรมะ นิมนต์พระมาเทศ พระส่วนน้อยบางส่วนที่เคยพบมาและได้ยินมา มักจะเทศนาเอา “เสียดินแดน”ไปด้วย มันไม่ใช่หน้าที่สงฆ์เลน จะมาก่อเกิดความแตกแยกทางสังคม โดยไม่มีจุดยืนในทางศาสนาพุทธ ซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นนัก “มนุษย์นิยม” พรหมวิหาร๔ พื้นฐานของศาสนาพุทธ ไม่มีสอนให้คลั่งชาติ คนที่ถือพุทธ รวมถึงสงฆ์ด้วยควรสำเหนียกเป็นอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธนั้นมีความเมตตาเป็นพื้นฐาน แต่ตอนนี้สอนให้คลั่ง สอนให้เกลียดเพื่อนบ้าน ขอให้พระตรวจสอบตนด้วยว่าตนทำผิด จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ในพุทธศาสนาด้วย ว่าตนวิปลาสไปหรือเปล่า?
บทความที่นำมาประกอบและอ้างอิง
ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล , มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน
---------------------------เสียดินแดนเป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ , มรดกของใคร?
ศ.ดร.สายชล สัตยานุรักษ์ , ชาติไทย และ ความเป็นไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ , ปาฐกถาสองแผ่นดิน: พุทธศาสนากับแก้ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
ตีพิมพ์ลงใน สาร Ntw ฉบับที่ ๓
ธันวาคม ๒๕๕๔
ปัจฉิมลิขิต: บทความนี้เขียนสมัยข้าพเจ้าอยู่มัธยมปีที่ ๓ หมาดๆ นับว่าขาดตกบกพร่องมาก ผู้ที่ข้าพเจ้าอ้างอิง ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ศึกษางานของเขาอย่างจัดเจนหรือเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งหมด ท่านผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณและสืบค้นหาความจริงด้วยตนเอง
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ , มรดกของใคร?
ศ.ดร.สายชล สัตยานุรักษ์ , ชาติไทย และ ความเป็นไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ , ปาฐกถาสองแผ่นดิน: พุทธศาสนากับแก้ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
ตีพิมพ์ลงใน สาร Ntw ฉบับที่ ๓
ธันวาคม ๒๕๕๔
ปัจฉิมลิขิต: บทความนี้เขียนสมัยข้าพเจ้าอยู่มัธยมปีที่ ๓ หมาดๆ นับว่าขาดตกบกพร่องมาก ผู้ที่ข้าพเจ้าอ้างอิง ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ศึกษางานของเขาอย่างจัดเจนหรือเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งหมด ท่านผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณและสืบค้นหาความจริงด้วยตนเอง
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
คำกล่าวหลังจากพ้นว่าที่ประธานนักเรียนสู่นักเรียนธรรมดาสามัญ
คำกล่าวหลังจากพ้นว่าที่ประธานนักเรียนสู่นักเรียนธรรมดาสามัญ
เพื่อนๆชาวนวมินทร์ฯเตรียมพัฒน์ ๑๓๗๑ เสียงและทุกคน ครูและคณะผู้บริหารที่เคารพ ข้าพเจ้าผู้เป็นว่าที่ประธานนักเรียนได้กระทำความพลั้งเผลอมาตรฐานทางจริยธรรมอันพึงประสงค์ที่ผู้สมัครประธานนักเรียนพึงกระทำพึงควรรู้แต่ข้าพเจ้าหารู้ไม่ด้วยเจตนาบริสุทธิ์แต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะยังรั้งตนให้ดำรงตำแหน่งต่อไปได้อันเนื่องจากการที่ข้าพเจ้ามิได้มาเลือกตั้งแสดงสิทธิ์ของตนในการเลือกตั้งวันที่๒๔ มิถุนายน ที่ผ่านมา ในวันนั้นข้าพเจ้าได้ไปเฉลิมฉลองวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕เป็นการเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตยและเคยเป็นวันชาติไทยด้วยพวกเราคนจำนวนหนึ่งที่ให้ความสำคัญจะไม่ลืมวันนี้เลยและจะร่วมไปฉลองฟังเสวนากันอันสิ่งนี้ข้าพเจ้าได้กระทำมาแล้วคือหยุดในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ของทุกปีเป็นเวลา๒ปีแล้ว และกาลครั้งนี้ที่มีเลือกตั้งข้าพเจ้าก็คิดว่าการเมืองในระดับโรงเรียนนั้นสำคัญแต่วันชาติวันที่พวกเราทั้งหมดเป็นอิสรเสรีพ้นจากการเป็นทาสเป็นไพร่เสมอกันนั้นสำคัญยิ่งกว่าจึงได้แจ้งกับเพื่อนที่สนิทกันและเขียนบันทึกสั้นๆไว้หากไม่ได้แจ้งครูที่ปรึกษาและทำหนังสือลา ข้าพเจ้าเดิมทีไม่คิดว่าจะเสียสิทธิไปและขอย้อนกลับไปอีกด้วยเหตุผลบางประการ ข้าพเจ้าผู้สมัครประธานนักเรียนเป็นผู้มีทัศนคติที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างแรงกล้าและดูจะไม่เข้ากับกรอบที่ทางสภาเขาจะให้เลยเช่นที่นักเรียนเสนอมานั้นอาทิ การใช้จาคอปก็ดี การไว้รองทรงก็ดีการลดคาบเรียนลงก็ดี หาได้ทำได้ไม่แล้วที่ข้าพเจ้าหาเสียงมานั้นที่วาดฝันไว้นั้นที่ให้สัตย์กับนักเรียนไว้นั้นจะมิเป็นการโกหกพกลมดอกหรือ แล้วพอทำไม่ได้จริงแล้วข้าพเจ้าจะเป็นประธานนักเรียนต่อไปได้อย่างไรแล้วไม่ผิดคุณธรรมหรือท่านจะผิดหวังกับข้าพเจ้าแต่แรกเริ่มเดิมทีหรือจะผิดหวังหลังจากที่ข้าพเจ้ามีอำนาจแล้วเล่า
ข้าพเจ้านั้นยังคิดอีกด้วยว่าหลายเรื่องเราไม่สามารถทำได้เลย เพราะเวลาน้อยเวลาเรียนมากคาบมากจะจัดกิจกรรมอะไรก็ยากจะดำเนินการได้ข้าพเจ้าเป็นคนแปลกอยู่แล้วความคิดยิ่งแปลกประหลาดแล้วในสภาฯจะยอมรับข้าพเจ้ามากแค่ไหน แล้วข้าพเจ้าจะมิผิดใจกับพวกเขาดอกหรือซึ่งก็ผิดใจบ่อยๆอยู่แล้ว ก็ในเมื่อเราเสียงส่วนน้อยและครูอาจารย์จะเกลียดเรามากขนาดไหนกันไ ข้าพเจ้าคิดจะลาออกมานานแล้ว แต่เพราะตอนแรกคิดว่าจะทำอะไรได้มากคิดว่าประธานนักเรียนจะมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงได้ไม่ใช่น้อยเป็นปากเป็นเสียงให้แก่นักเรียนและมีคนรับฟังแม้จะอาจดูรุนแรงไปก็ตามทีแต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ข้าพเจ้าไม่อยากเป็นคนคอยอยู่ภายใต้บังคับบัญชาและเหมือนรุ่นก่อนๆ(ข้าพเจ้าพึ่งเข้าใจพวกเราซึ่งก็ถูกข้อจำกัดตามบริบท) อันไม่ได้สร้างสรรค์นิรมิตหรือเปลี่ยนแปลงให้บังเกิดได้เลยข้าพเจ้าคิดจะถอนตัวก็ถอนไม่ทันเสียแล้วและครูอาจารย์ที่สนับสนุนข้าพเจ้าอีกหลายท่านก็ให้กำลังใจอย่างเต็มที่ข้าพเจ้ามาถึงขนาดนี้แล้วจะกลับไปไม่ได้แล้ว และทุกคนก็ฝากความหวังไว้มากข้าพเจ้าจึงคิดว่าเพื่อการทำงานที่เป็นอิสระมากขึ้นจะไม่เป็นประธานนักเรียนน่าจะทำงานได้ดีเป็นตัวของตัวเองไม่ต้องผูกเป็นหน้าเป็นตาโรงเรียนอย่างยิ่งใหญ่ จึงได้ประกาศว่า อย่าเลือกข้าพเจ้าในการหาเสียงครั้งก่อนๆ ที่มีการจัดขึ้น ข้าพเจ้าก็คิดว่าถ้าชนะก็จะทำงานให้เท่าที่สามารถที่สุดและถ้าแพ้ก็จะได้เป็นตัวของตัวเองทำงานเพื่อเพื่อนนักเรียนในจุดเล็กๆ ในวันที่ ๒๔มิถุนายน ข้าพเจ้าจึงหยุดด้วยนี่คือเหตุผลอีกประการ คือรู้ว่ามีเปอร์เซ็นต์แพ้มากถ้าไม่มาเสียงสนับสนุนก็คงหายไปไม่ใช่น้อย ถ้าแพ้ก็จะได้ทำงานอย่างอิสระ เป็นกรรมการนักเรียนนอกกรอบคนหนึ่งไปส่วนถ้าชนะนั้นก็ถือว่าต้องทำงานเต็มที่ กลับเป็นว่าคะแนนข้าพเจ้าชนะสูงกว่าใครๆรวมกัน แต่แล้วชนะข้าพเจ้ายิ่งดูมีความกดดันมากขึ้นข้าพเจ้าถือตนและระลึกเสมอว่าเราต้องเป็น ปัญญาชนคือผู้เป็นปากเป็นเสียงเห็นความไม่ถูกต้องหรือเห็นความไม่สมเหตุสมผลต้องนำเสนอวิจารณ์ข้าพเจ้ามาเป็นในตำแหน่งนี้ต้องยอมรับว่า ผิดที่ข้าพเจ้าคาดหวังไว้คือไม่สามารถเป็นปากเป็นเสียงได้และแม้เป็นก็จะถูกจำกัดกรอบนานา และไม่ใช่เพียงข้าพเจ้าคนเดียวที่ถูกด่าแต่ครูที่ปรึกษาข้าพเจ้าก็ด้วย
ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเป็นไปได้แต่แรกไม่น่าที่จะลงสมัครเอาเลยเพราะข้าพเจ้าเห็นว่าน่าจะทำได้และระบบน่าจะเอื้อ แต่ก็ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเองว่ามันคือความฝันมากกว่าข้าพเจ้าอยากจะยืนหยัดเป็นตัวของตัวเองมากกว่าจะถูกครอบงำหรือต้องลำบากใจในการทำงานอันแทบทำอะไรไม่ได้เลยเสนอไปก็มีแต่จะตกเพื่อนๆที่คาดหวังในตัวข้าพเจ้าทำให้ข้าพเจ้าต้องสู้ต่อไปในระบบแบบนี้และข้าพเจ้าก็พร้อมที่จะยอมรับสภาวะกดดัน เสียงจะกร่นด่าแต่ก็จะทนสู้ต่อไป ข้าพเจ้าเครียดอย่างมากและคงต้องสู้ต่อไปอย่างน้อยก็ถางทางให้คนรุ่นต่อไปทำอะไรได้มากขึ้นจนมาเมื่อไม่กี่วันนี้ข้าพเจ้าได้ทราบว่าตนทำผิดหลักการเลือกตั้งทั่วไปเนื่องเพราะไม่ได้มาเลือกตั้งนั่นเอง ข้าพเจ้าไม่รู้มาก่อนและเมื่อรู้แล้วข้าพเจ้าก็ไม่ได้มีความหวงในตำแหน่ง ไม่ได้มีความอิจฉาริษยาที่จะแก่งแย่งชิงดีกับใครไม่ได้ต้องการเป็นวีรบุรุษจอมปลอมที่ทำอะไรไม่ได้เลย อันการผิดพลาดอันเล็กน้อยนี้จะแก้ไขก็ไม่ได้แล้วและข้าพเจ้าก็ยินยอมใจที่จะออกจากตำแหน่ง อันผู้สมัครพึงมีจริยธรรมในเรื่องนี้ บทเรียนครั้งนี้ขออย่าให้สูญเปล่าสำหรับเพื่อนๆทุกคนในการใช้สิทธิเลือกตั้งข้าพเจ้าเองก็รู้สึกขอโทษอีกครั้งเป็นอย่างสูงแต่หาใช่ว่าข้าพเจ้าไปแล้วไปลับเลยในการทำงานโรงเรียนครั้งนี้ข้าพเจ้าจะเป็นปากเป็นเสียงแก่เพื่อนนักเรียนต่อไปอาจไม่ได้ในโรงเรียนแต่ในสาธารณชนในทางสังคม ข้าพเจ้าขอให้พวกท่านจงกล้าใช้ปัญญาญาณของตนที่มี จงคิดนอกกรอบและจงกล้าหาญเพื่อการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนเปลี่ยนแปลงไม่ได้จากคนคนเดียวแต่ต้องทุกคนร่วมมือ และคิดวิพากษ์และแย้งข้าพเจ้าไม่ใช่วีรบุรุษแต่ทุกคนคือผู้เปลี่ยนแปลง อย่าติดกับตัวบุคคลและข้าพเจ้าจะอยู่ที่ห้องสมุดและมีอะไรก็มาเล่ามาวิจารณ์กันได้หรือจะสมน้ำหน้าข้าพเจ้าก็ได้ไม่เป็นไร ยินดีเสมอ
ขอขอบคุณที่เลือก และขอโทษๆ ๆ ๆ สำหรับการผิดพลาดครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอยุติคำกล่าวเพียงเท่านี้
ป.ล. ข้าพเจ้าร่างคำกล่าวนี้มาแต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนแล้วเมื่อทราบว่าตนต้องลาจากตำแหน่งดังกล่าวนี้
โดยคิดว่าจะอ่านวันจันทร์คือ 1 กรกฎาคม ในหน้าเสาธง แต่การณ์ก็ไม่อำนวยให้ทำได้
และข้าพเจ้าซึ่งต่อมาทางสภาได้ให้เป็นที่ปรึกษากรรมการนักเรียนแทนประธานนักเรียน
ก็ต้องตกใจไปเพราะ กลายเป็นว่าปีนี้ไม่มี"สภานักเรียน" เพียงเพราะข้าพเจ้าและไม่กี่คนในสภาไม่ใช้สิทธิ
ข้าพเจ้าก็ไม่รู้สึกจะต้องคับแค้นหรือมีปัญหา หากก็ขอสละตำแหน่งทั้งหมดที่ให้ เป็นนักเรียนสามัญน่าจะทำงานได้เต็มที่กว่าและที่อยากทำโดยไม่ต้องขัดข้องกับงานที่ตนไม่ถนัดจะทำ
โดยจะตั้ง เครือข่ายจิตฉันทะวิวัฒน์โรงเรียน ขึ้นมา
อ่านความเห็นเพื่อน ๆ ที่เฟสบุ๊คครับ
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ลาออกจากการอยู่ในสภานักเรียน หรือการเป็นผู้แทนนักเรียน
บันทึกข้อความ:ลาออกจากการอยู่ในสภานักเรียน หรือการเป็นผู้แทนนักเรียน
วันที่ 1 กรกฎาคม 2556
เรื่อง ลาออกจากการอยู่ในสภานักเรียน หรือการเป็นผู้แทนนักเรียน
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ
ข้าพเจ้าซึ่งได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครประธานนักเรียน และได้คะแนนเสียง 1371 จากนักเรียนทั้งหมด อันเป็นอันดับ1 ของการเลือกตั้ง หากลืมที่จะมาเลือกตั้ง ทำให้หมดสภาพตามหลักการประชาธิปไตย ข้าพเจ้ายอมรับโดยดุษณี หาใช่กระสันจะดำรงคงอยู่ หรือในทางครูและนักเรียนหลายคนอยากให้ข้าพเจ้าออกก็ใช่เรื่อง ข้าพเจ้ายินดียอมรับข้อผิดพลาด
ทางสภาฯ ได้ประชุมคุยเห็นชอบให้ข้าพเจ้าออกจากตำแหน่ง เป็นที่ปรึกษาแทน ข้าพเจ้าแม้ไม่เห็นด้วยและไม่ใช่จุดหมายของข้าพเจ้าในครั้งนี้ก็ยอมรับเกรงใจเสียงส่วนใหญ่ไป มาวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม ข้าพเจ้าไม่ทราบเลยก่อนมีการประกาศซึ่งให้ออกกันทั้งหมด พ้นสภาพกลายเป็นผู้ัแทนฯเท่านั้น เพียง 4 คนก่อให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้เป็นให้ทุกคนพ้นตำแหน่ง ข้าพเจ้าในฐานะที่ปรึกษาและผู้มีเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนไม่ทราบก่อนเลย และเห็นว่าไม่ยุติธรรม และไม่เป็นตามครรลองประชาธิปไตย คือ กลับมติ
ข้าพเจ้าซึ่งยึดหลักการมากกว่าหลักกู ไม่อาจทนเป็นที่ปรึกษาหรือผู้แทนแบบนี้ได้ และไม่ใช่ความมุ่งหมายแต่แรกเริ่ม เพื่อเป็นกรุณาจิตสงสารผู้ที่ลำบากใจที่ข้าพเจ้าอยู่ในสภาและเป็นตัวขวางเสียแทบทั้งนั้น จึงขอลาออกจากสภานักเรียนหรือผู้แทนนักเรียนตามสิทธิอันพึงมี ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆทั้งสิ้นในสภาหรือการเป็นผู้แทนแห่งนี้
มีพุทธภาษิตไว้แล้วว่า สัจเจนา ลิกวา ทินัง (พึุงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง)
นี่คือเจตนาบริสุทธิ์
ด้วยความเคารพ
เนติวิทย์
อนุสนธิ: ข้าพเจ้าเขียนจดหมายฉบับนี้ด้วยความไม่พอใจที่มีการยุบสภา โดยไม่ได้ถามข้าพเจ้าหรือบอกใครๆก่อนในสภา
ซึ่งเพื่อนหลายคนไม่รู้เรื่อง แต่มีการแถลงยุบสภา ทั้งที่เราคุยกันแล้วในวันศุกร์ ให้ข้าพเจ้าและอีก3คน ไม่ใช้สิทธิออก
มาเป็นที่ปรึกษา แต่ก็มากลับมติในวันจันทร์เข้า แล้วแบบนี้จะมีประโยชน์อันใด และเป็นประชาธิปไตยอย่างไร
อย่างนั้นก็ดีข้าพเจ้าก็ยังเป็นผู้สังเกตการณ์และถ้ามีอะไรให้ช่วยก็ช่วยในสภาอยู่บ้าง หากไม่รับตำแหน่ง
และจะมาตั้งเครือข่ายเอง
เรื่อง ลาออกจากการอยู่ในสภานักเรียน หรือการเป็นผู้แทนนักเรียน
เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ
ข้าพเจ้าซึ่งได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครประธานนักเรียน และได้คะแนนเสียง 1371 จากนักเรียนทั้งหมด อันเป็นอันดับ1 ของการเลือกตั้ง หากลืมที่จะมาเลือกตั้ง ทำให้หมดสภาพตามหลักการประชาธิปไตย ข้าพเจ้ายอมรับโดยดุษณี หาใช่กระสันจะดำรงคงอยู่ หรือในทางครูและนักเรียนหลายคนอยากให้ข้าพเจ้าออกก็ใช่เรื่อง ข้าพเจ้ายินดียอมรับข้อผิดพลาด
ทางสภาฯ ได้ประชุมคุยเห็นชอบให้ข้าพเจ้าออกจากตำแหน่ง เป็นที่ปรึกษาแทน ข้าพเจ้าแม้ไม่เห็นด้วยและไม่ใช่จุดหมายของข้าพเจ้าในครั้งนี้ก็ยอมรับเกรงใจเสียงส่วนใหญ่ไป มาวันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม ข้าพเจ้าไม่ทราบเลยก่อนมีการประกาศซึ่งให้ออกกันทั้งหมด พ้นสภาพกลายเป็นผู้ัแทนฯเท่านั้น เพียง 4 คนก่อให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้เป็นให้ทุกคนพ้นตำแหน่ง ข้าพเจ้าในฐานะที่ปรึกษาและผู้มีเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนไม่ทราบก่อนเลย และเห็นว่าไม่ยุติธรรม และไม่เป็นตามครรลองประชาธิปไตย คือ กลับมติ
ข้าพเจ้าซึ่งยึดหลักการมากกว่าหลักกู ไม่อาจทนเป็นที่ปรึกษาหรือผู้แทนแบบนี้ได้ และไม่ใช่ความมุ่งหมายแต่แรกเริ่ม เพื่อเป็นกรุณาจิตสงสารผู้ที่ลำบากใจที่ข้าพเจ้าอยู่ในสภาและเป็นตัวขวางเสียแทบทั้งนั้น จึงขอลาออกจากสภานักเรียนหรือผู้แทนนักเรียนตามสิทธิอันพึงมี ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆทั้งสิ้นในสภาหรือการเป็นผู้แทนแห่งนี้
มีพุทธภาษิตไว้แล้วว่า สัจเจนา ลิกวา ทินัง (พึุงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง)
นี่คือเจตนาบริสุทธิ์
ด้วยความเคารพ
เนติวิทย์
อนุสนธิ: ข้าพเจ้าเขียนจดหมายฉบับนี้ด้วยความไม่พอใจที่มีการยุบสภา โดยไม่ได้ถามข้าพเจ้าหรือบอกใครๆก่อนในสภา
ซึ่งเพื่อนหลายคนไม่รู้เรื่อง แต่มีการแถลงยุบสภา ทั้งที่เราคุยกันแล้วในวันศุกร์ ให้ข้าพเจ้าและอีก3คน ไม่ใช้สิทธิออก
มาเป็นที่ปรึกษา แต่ก็มากลับมติในวันจันทร์เข้า แล้วแบบนี้จะมีประโยชน์อันใด และเป็นประชาธิปไตยอย่างไร
อย่างนั้นก็ดีข้าพเจ้าก็ยังเป็นผู้สังเกตการณ์และถ้ามีอะไรให้ช่วยก็ช่วยในสภาอยู่บ้าง หากไม่รับตำแหน่ง
และจะมาตั้งเครือข่ายเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)